การศึกษากลวิธีการแปลชื่อสถานศึกษาในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ จากแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน
คำสำคัญ:
กลวิธีการแปล, ชื่อสถานศึกษา, จังหวัดเพชรบูรณ์, ภาษาจีนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลวิธีการแปลชื่อสถานศึกษาในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาจีน เก็บข้อมูลรายชื่อสถานศึกษาจากกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ และเครือข่ายครูภาษาจีนในพื้นที่เพชรบูรณ์ จำนวนทั้งสิ้น 45 รายชื่อ ด้วยแบบสอบถามรายชื่อสถานศึกษาฯ กอปรกับการสัมภาษณ์ตัวแทนครูผู้สอนภาษาจีนของแต่ละสถานศึกษา จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการแปล ผลการศึกษาพบกลวิธีที่ปรากฏในการแปลชื่อสถานศึกษาในจังหวัดเพชรบูรณ์ 5 กลวิธี คือ การแปลทับศัพท์ การแปลความหมาย การเพิ่มคำ การตัดคำ และการแปลแบบผสม ด้านข้อเสนอแนะการแปลพบว่า หากชื่อมีส่วนประกอบของชื่อเฉพาะที่มีการแปลเป็นภาษาจีนมาก่อนและใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถใช้คำแปลเหล่านั้นได้โดยตรง หากต้องแปลทับศัพท์ควรเลือกคำจีนที่เหมาะสมทั้งเสียงและความหมาย บางส่วนประกอบของชื่ออาจแปลตามความหมายได้ บางส่วนของชื่อสามารถตัดทิ้งหรือไม่แปลเพื่อทำให้ชื่อมีความกระชับ คำบอกสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ปรากฏในชื่อสถานศึกษาสามารถแปลตามความหมายได้ และสถานศึกษาในเครือเดียวกันที่กระจายตัวตามภูมิภาค อาจใช้คำแปลตามสถานศึกษาต้นสังกัด หรือหากต้องแปลใหม่ต้องระวังเรื่องการทับศัพท์ และชื่อที่ได้รับการแปลควรจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศ เพื่อป้องกันปัญหาการแปลในอนาคต
References
กนกพร นุ่มทอง และศิริวรรณ ลิขิตเจริญธรรม. (2562). หลักและข้อควรระวังในการแปลจีน-ไทย ไทย-จีน. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 12(2), 105-151.
กนกพร นุ่มทอง. (2554). ตำราการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน (พิมพ์ครั้งที่ 2). สถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กรวรรณ พรหมแย้ม. (2565). การศึกษาการแปลชื่อถนนภาษาไทยเป็นภาษาจีนในเขตเทศบาลนครเชียงราย. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 15(2), 36-73.
กันย์สินี จตุพรพิมล. (2557). การแปลชื่อสถานที่ท่องเที่ยวภาษาไทยเป็นภาษาจีน.วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 36(1), 226-244.
จรัสศรี จิรภาส. (2562). การแปลคำเฉพาะไทย-จีน : สภาพปัญหา ข้อจำกัดและหลักเกณฑ์การถ่ายเสียงคำไทยด้วยอักษรจีน. สถาบันขงจื่อและศูนย์จีนศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
เพ็ญพรรษา ชัยธีระสุเวท และมณันญา ศรีหิรัญ. (2562). ชื่อสถานที่ท่องเที่ยวลำปาง : กลวิธีและข้อผิดพลาดที่พบในการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(5), 22-41.
ภูเทพ ประภากร. (2565). การศึกษาการแปลชื่อสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่สามบุรี (ลพบุรีสิงห์บุรี สระบุรี) เป็นภาษาจีน. วารสารอักษรศาสตร์และไทยศึกษา, 44(1), 64-78.
ศูนย์ภาษาจีน โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม. (ม.ป.ป). ศูนย์ภาษาจีน. http://www.facebook.com/profile.php?id=100063674735805
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (ม.ป.ป). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. https://dictionary.orst.go.th/
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2540). เกณฑ์การถ่ายถอดเสียงภาษาจีน แมนดารินด้วยอักขรวิธีไทย. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพรรณี ปิ่นมณี. (2562). แปลถูก แปลผิด คัมภีร์การแปลยุคใหม่. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณา สนเที่ยง. (2559). เรื่องจีน ๆ ภาษาจีน โดยสุวรรณา. http://suwannas.blogspot.com/2016/05/blog-post_3.html
Da, H. J. (2020). Research on the Development of Confucius Institute in Thailand. Chinese Language and Cultural Journal, 7(1), 19-32.
Dictionary Editing Office of Institute of Linguistics, Chinese Academy of Social Sciences. (2005). The Contemporary Chinese Dictionary (5th edition). The Commercial Press.
Newmark, P. (1988). A Textbook of Translation. Prentice Hall International (UK) Ltd.
Nida, E. (1982). The Theory and Practice of Translation. E.J. Brill.
Pei, X. R., Bao, W. Z., Jin. Y., Xiong. R. (2018). A Study on Thai-Chinese Transliteration Standards. Guangdong World Books Publishing Company.
TeoChew Mogher. (n.d.). TeoChew Mogher (Bichaiwen). https://www.mogher.com/dic/search/
TeoChew Moghe. (n.d.). TeoChew Mogher (Longsai). https://www.mogher.com/dic/search/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.