- แนวทางการพัฒนาสู่ความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสาน บ้านไทรงาม ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สุนทร ปัญญะพงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • อัญชลี ชัยศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ทัศไนวรรณ ดวงมาลา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • วิมลศิลป์ ปรุงชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การพัฒนาสู่ความสำเร็จ, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, เกษตรผสมผสาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาการความเป็นมาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านไทรงาม 2) หาแนวทางการพัฒนาสู่ความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านไทรงาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการประชุมกลุ่มย่อย และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2559 โดยตัวแทนชาวบ้านได้สมัครเข้าร่วมโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท ของวิทยาลัยการเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ และได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นกลุ่มเพื่อทำการเกษตรแบบยั่งยืน ปลูกพืชผักสมุนไพรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ช่วงเริ่มต้นสมาชิกประสบปัญหาภาวะขาดแคลนทุนในการประกอบอาชีพและไม่มีความเข้าใจเรื่องการเกษตรแบบผสมผสาน นิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยว ขาดความรู้เรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร กลุ่มได้ระดมทุนจากสมาชิกเพื่อให้ทุกคนเป็นเจ้าของกลุ่มร่วมกันเพื่อนำมาใช้ในการออม การผลิต การแปรรูปจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนให้การยอมรับ ปัจจุบันกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ส่วนแนวทางในการพัฒนาสู่ความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาด้านการเงิน ควรมีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ 2) การพัฒนาด้านการผลิต ควรวางแผนด้านการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพของสมาชิก 3) การพัฒนาด้านการตลาด ควรปรับเปลี่ยนเป็นการใช้ตลาดนำการผลิต 4) การพัฒนาด้านแรงงาน ควรมีการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับสมาชิก และ 5) การพัฒนาด้านระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม เพื่อใช้เป็นมาตรการในการควบคุมและติดตามในการดำเนินงานของกลุ่ม

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). คู่มือการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. กรมส่งเสริมและพัฒนาผลผลิต.

กัญญามน อินหว่าง และคณะ. (2554). การจัดการวิสาหกิจชุมชน. มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

จินดารัตน์ ชูคง และวีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2563). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรทำสวนเขาทะลุตำบลเขาทะลุ อำเภอสวีจังหวัดชุมพร [การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น]. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชุตินธร บำรุงภักดี. (2559). แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพงานหัตถกรรมมุกประดับ : กรณีศึกษาบ้านหนองลาด หมู่ที่ 4 ตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 11(36), 80-90.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และพิทยา ว่องกุล. (2545). วิสาหกิจชุมชน กลไกเศรษฐกิจฐานราก. เอดิสันเพรส จำกัด.

ปัทมา สารสุข. (2561). แนวทางการพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดนนทบุรี. Graduate School Conference 1(1), 590-599.

ภาควัต ศรีสุรพล และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2560). แนวทางการส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้มีความเข้มแข็งในตำบลนาชุมแสง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 4(1), 85-98.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2545). องค์การและการจัดการ. ธรรมสาร.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (ม.ป.ป.). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlan(15 Oct 2018)

Gulick, L. & Urwick, L. (1937). The Science of Administration. Columbia University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

ปัญญะพงษ์ ส., ชัยศรี อ. ., ดวงมาลา ท. ., & ปรุงชัยภูมิ ว. . (2023). - แนวทางการพัฒนาสู่ความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสาน บ้านไทรงาม ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 7(2), 208–229. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/2198