อุโบสถไม้และการก่อร่างของชุมชนรอบอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก
คำสำคัญ:
อุโบสถไม้, อ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก, สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นผลจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาการเกิดขึ้นของอุโบสถไม้ที่นิยมสร้างขึ้นในชุมชนรอบอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตกในพุทธศตวรรษที่ 24-25 กับพัฒนาการของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน แม่กลอง และเพชรบุรี โดยพบว่าการสร้างอุโบสถไม้ในท้องถิ่นเหล่านี้ นอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในด้านสภาพแวดล้อมที่เป็นที่ราบน้ำท่วมถึงแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของชุมชนในพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย กล่าวคือในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดการสร้างวัดที่มีอุโบสถไม้ขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชนต่างๆ ทั้งในกรณีของชุมชนเดิมที่มีการขยายตัวออกไปยังพื้นที่ใกล้เคียง และการก่อตัวของหมู่บ้านใหม่ๆ ซึ่งการสร้างชุมชนและวัดเหล่านี้ยังสัมพันธ์กับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ การขุดคลองสายต่างจากกรุงเทพฯ มายังพื้นที่แถบนี้ และการขยายพื้นที่สำหรับทำเกษตรกรรม ที่สืบเนื่องมาจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง รวมถึงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมอย่างการตัดทางรถไฟไปยังภูมิภาคตะวันตกและภาคใต้ด้วย ทั้งนี้ ลักษณะและวิธีการการสร้างอุโบสถไม้ ได้แก่ การนำศิลปวัตถุเก่าที่มีอยู่ในท้องถิ่นกลับมาใช้ใหม่ และการนำศิลปวัตถุจากกรุงเทพฯ อย่างพระพุทธรูปโลหะขนาดเล็กและใบเสมาหินแกรนิตขนาดเล็กมาใช้ ยังสอดคล้องกับลักษณะของอุโบสถไม้ที่เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สร้างขึ้นอย่างเรียบง่าย ไม่ประดับตกแต่ง และเหมาะสมกับชุมชนขนาดเล็ก ดังนั้น อุโบสถไม้จึงเป็นภาพแทนของการพัฒนาเชิงพื้นที่และการก่อร่างของชุมชนในพื้นที่รอบอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตกในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา
References
คาร์ล บ็อค. (2562). ท้องถิ่นสยามยุคพระพุทธเจ้าหลวง. ศรีปัญญา.
เจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค). (2482). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2. กรมศิลปากร.
ชุติมา มีแสง. (2554). อุโบสถไม้ เมืองสมุทรสาคร: สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน [การศึกษาค้นคว้าเฉพาะบุคคลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ และบรรณาธิการ. (2561). สาครบุรีจากวิถีชาวบ้าน: การเปลี่ยนผ่าน วิถีชีวิตท้องถิ่นในลุ่มน้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
ประภัสสร อินธิเสน. (2523). บทบาทของสุขาภิบาลที่มีต่อการปกครองตนเองในท้องถิ่น ระหว่างปี พ.ศ. 2441-2476 [วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประภัสสร์ ชูวิเชียร. (2561). อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง พิมพ์ครั้งที่ 2. มติชน.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2551). งานช่าง สมัยพระนั่งเกล้าฯ. มติชน.
สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2555). การเสด็จตรวจราชการหัวเมือง ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. สถาบันดำรงราชานุภาพ.
สิริวรรณ สิรวณิชย์. (2561). การศึกษาสำรวจสถานภาพทางความรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ชุมชนบ้านท่าจีน สมุทรสาคร [รายงานการวิจัยสาขาวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คณะโบราณคดี]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2555). การเสด็จตรวจราชการหัวเมือง ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. สถาบันดำรงราชานุภาพ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.