สมรรถนะการรู้ดิจิทัลของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ
คำสำคัญ:
การรู้ดิจิทัล, ทักษะการรู้ดิจิทัล, บรรณารักษ์, สมรรถนะและสมรรถนะการรู้ดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏเกี่ยวกับสมรรถนะการรู้ดิจิทัลสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุด 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ เกี่ยวกับสมรรถนะการรู้ดิจิทัลที่ทำงานในฝ่าย/งานที่แตกต่างกัน และ 3) ศึกษาปัจจัยส่งเสริมสมรรถนะการรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงาน ของบรรณารักษ์ห้องสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ นักสารสนเทศ ที่ปฏิบัติงาน
ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 6 แห่ง จำนวนประชากรทั้งหมด 40 คน รวบรวมข้อมูลได้ จำนวน 40 คน (ร้อยละ 100) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็น รายคู่โดยวิธี Fisher’s Least Significant Difference (LSD)
ผลการศึกษาความเห็นด้านสมรรถนะการรู้ดิจิทัล พบว่า ในภาพรวมบรรณารักษ์ให้ความสำคัญกับสมรรถนะด้านคุณลักษณะเป็นอันดับแรก มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.13) รองลงมาให้ความสำคัญกับสมรรถนะด้านทักษะ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (
= 3.81) และให้ความสำคัญกับสมรรถนะด้านความรู้เป็นอันดับสาม มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (
= 3.73) ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า บรรณารักษ์ที่มีฝ่าย/งานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะการรู้ดิจิทัลของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลการศึกษาปัจจัยส่งเสริมสมรรถนะการรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.48) มีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านสภาพแวดล้อมภายนอก ด้านนโยบายของมหาวิทยาลัย ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านบุคลากรและการพัฒนาบุคลากร และด้านนโยบายของผู้บริหารห้องสมุด
References
กัมพล เกศสาลี และกันยารัตน์ เควียเซ่น. (2561). การรู้ดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 12(2), 503-514.
กาญจนา จันทร์สิงห์, ชุติมา สัจจานันท์ และจันทิมา เขียวแก้ว. (2560). การพัฒนากรอบสมรรถนะด้านการวิจัยของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 10(1), 1-15.
คมสัน พันธุ์ชัยเพชร และมาลี กาบมาลา. (2557). พฤติกรรมสารสนเทศในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 32(2), 24-64.
ชุติมา สัจจานันท์. (2561). การพัฒนาการรู้สารสนเทศ สื่อและดิจิทัลสำหรับนักศึกษาทางไกลระดับอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ดรุณี บุบผา. (2552). การศึกษาสภาพการบริหารจัดการพัสดุของมหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานตอนล่าง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ทิพวรรณ สุขรวย. (2558). สมรรถนะของนักวิชาชีพสารสนเทศในการปฏิบัติงานบริการสนับสนุนการวิจัยในห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นันธิดา พรมวงค์. (2561). แนวทางส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพบรรณารักษ์ที่พึงประสงค์ในยุคดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พ้นพันธ์ ปิลกศิริ. (2555). ความคาดหวังของผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่อสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งของบรรณารักษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรชนิตว์ ลีนาราช. (2560). ทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. วารสารห้องสมุด, 61(2), 76-92.
พรพรรณ จันทร์แดง. (2557). ห้องสมุดยุคใหม่. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เพชราภรณ์ จันทรสูตร. (2556). การพัฒนาสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับนักวิชาชีพสารสนเทศของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาด้วยชุดฝึกอบรมอิเล็กทรอนิกส์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มัทนา บุญประเสริฐ, แววตา เตชาทวีวรรณ และวราภรณ์ วิยานนท์. (2561). ความหมาย คุณลักษณะและการบริการของห้องสมุด 4.0 ในประเทศไทย : การวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 11(2), 17-33.
เรณุกา สันธิ .(2564). สมรรถนะการรู้ดิจิทัลสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ. (2563). ส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศดิจิทัล : สมรรถนะในอาชีพบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 2(2), 1-6.
ศิริพร แซ่อึ้ง. (2560). การพัฒนาสมรรถนะของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศุมรรษตรา แสนวา. (2555). บทบาทและความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2565, 23 ธันวาคม). โครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล. https://Si Sa Ket.ocsc.go.th/
American Library Association. (2023,1 January). Digital literacy, libraries, and public policy: Report of the Office for Information Technology Policy’s Digital Literacy Task Force. https://Si Sa Ket.atalm.org
Emiri, O. T. (2015). Digital literacy skills among librarians in university libraries in the 21st Century in Edo and Delta states, Nigeria. International Journal of Scientific & Technology Research, 4(8), 153-159.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.