การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากอัตลักษณ์ลายแส่วผ้าในจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ พงษ์กุล มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์, อัตลักษณ์, ลายแส่วผ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากอัตลักษณ์ลายแส่วผ้าในจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ลายแส่วผ้าในจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากอัตลักษณ์ลายแส่ว กลุ่มแส่วผ้าโพนค้อ ตำบลโพนค้อ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและข้อมูลภาคสนาม ด้วยเครื่องมือวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์ แบบสังเกตการณ์ การสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความคิดเห็น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และนำมาวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดการออกแบบ แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แนวคิดอัตลักษณ์ ทฤษฎีรื้อสร้าง เพื่อนำมาออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากอัตลักษณ์ลายแส่วผ้าในจังหวัดศรีสะเกษ

            จากการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์ลายแส่วผ้าของกลุ่มแส่วผ้าโพนค้อเป็นการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ สามารถแบ่งอัตลักษณ์เป็น 2 ด้าน คือ 1) อัตลักษณ์ร่วม โดยทุกกลุ่มแส่วผ้าทำเหมือนกัน ทั้งกระบวนการผลิต รูปแบบ ลวดลาย (ดั้งเดิม) ซึ่งมี 10 ลวดลาย ได้แก่ ลายตีนตะขาบ ลายหางสิงห์ ลายโซ่ลายขามดแดง ลายเชิงเทียน ลายใบโพธิ์ ลายดอกพิกุล ลายขัดตาแหลว ลายดอกไม้ และลายจกดาว และสีของด้ายแส่ว คือ สีขาว สีแดง สีเหลือง 2) อัตลักษณ์ปัจเจก คือ ลวดลายที่มีการออกแบบใหม่ให้เป็นอัตลักษณ์ประจำกลุ่มผ้า มี 3 ลวดลาย ได้แก่ ลายดอกค้อช่อลำดวน ลายดอกค้อ และลายใบค้อ โดยสามารถแบ่งกลุ่มลวดลายได้ 4 กลุ่มลวดลาย คือ 1) ลวดลายสัตว์ (ลายตีนตะขาบ, ลายหางสิงห์, ลายขามดแดง) 2) ลวดลายพืชหรือพันธุ์พฤกษา (ลายดอกค้อช่อลำดวน, ลายดอกค้อ, ลายใบค้อ, ลายดอกไม้, ลายใบโพธิ์, ลายดอกพิกุล) 3) ลวดลายสิ่งของเครื่องใช้ (ลายโซ่, ลายเชิงเทียน, ลายกุญแจ, ลายขัดตาแหลว) และ 4) ลวดลายเลียนแบบธรรมชาติ
(ลายจกดาว) นอกจากนี้ได้ทำการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่ได้จากแนวคิดลายแส่วผ้า นำไปสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ จำนวน 1 คอลเลกชัน (Collection) ประกอบด้วย หมวก กระเป๋า รองเท้า ผ้าพัน/
ผ้าคลุมไหล่ แล้วประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากกลุ่มเป้าหมาย พบว่ากลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน มีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมาก โดยพบว่ามีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ในรูปแบบผ้าพันคอ/ผ้าคลุมไหล่ มากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.52, S.D. = 0.50) รองลงมา คือ รองเท้า (gif.latex?\bar{x} = 4.24, S.D. = 0.50) กระเป๋า (gif.latex?\bar{x} = 4.30, S.D. = 0.52) และหมวก (gif.latex?\bar{x} = 4.09, S.D. = 0.56) ตามลำดับ และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.29, S.D. = 0.47)

References

โครงการพัฒนาผ้าพื้นเมืองในทุกจังหวัดของประเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2543). ผ้าทอพื้นเมืองในภาคกลาง/โครงการพัฒนาผ้าพื้นเมืองในทุกจังหวัดของประเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. สถาบันพระปกเกล้า.

ธีรพงศ์ สงผัด. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าเก็บย้อมมะเกลือเป็น Premium OTOP และพัฒนากลุ่มสตรีทอผ้าบ้านเมืองหลวงสู่ผู้ประกอบการ Start Up. กระทรวงอุดมศึกษา.

ธีระชัย สุขสด. (2544). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. โอเดียนสโตร์.

บุรินทร์ เปล่งดีสกุล และภาคินี เปล่งดีสกุล. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ชุมชนรอบเขื่อนจุฬาภรณ์ กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาน้ำจืด แม่สมศรี ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 206-230.

พนารัตน์ เดชกุลทอง. (2552). การวิจัยและพัฒนากระบวนการทอผ้าพื้นบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง : กรณีศึกษาในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2551). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 4). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2545). เอกสารประกอบการจัดสรรงบประมาณโครงการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2545. ม.ป.พ.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

เอกเทศ แสงลับ และพัชรา ปราชญ์เวทย์. (2558). การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในการสร้างลายผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดศรีสะเกษ. มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

How to Cite

พงษ์กุล ก. (2024). การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากอัตลักษณ์ลายแส่วผ้าในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 8(1), 71–92. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/2375