การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าทอมือชุมชนบ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ญาณิศา ศรีบุญเรือง คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ของที่ระลึก, ผ้าทอมือ

บทคัดย่อ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าทอมือชุมชนบ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าทอมือชุมชนบ้านหว้าน 2) ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าทอมือชุมชนบ้านหว้าน และ 3) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าทอมือชุมชนบ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัด
ศรีสะเกษ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์จำนวน
15 คน และผู้ร่วมประชุมระดมความคิดเห็นจำนวน 12 คน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนมีความต้องการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าขาวม้าเป็นสินค้าที่จำหน่ายในชุมชนเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ พัฒนาเป็นสินค้าที่ระลึกทางการท่องเที่ยวเพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว นำไปสู่การต่อยอดทางเศรษฐกิจ
ของชุมชน ซึ่งผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่ชุมชนต้องการ คือ ร่มผ้าขาวม้า ที่ใช้วัตถุดิบหลัก
คือผ้าขาวม้าที่ได้จากการทอของกลุ่มทอผ้าในชุมชน 2) การออกแบบจะให้ความสำคัญต่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ความสวยงาม และความแข็งแรง 3) ต้นทุนการผลิต
ต่อหน่วยของร่มผ้าขาวม้า ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง ได้แก่ ผ้าขาวม้า 35 บาท และ โครงร่ม 50 บาท ค่าแรงงานทางตรง เป็นค่าแรงงานในการแปรรูป 50 บาท ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร 4.50 บาท ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ 0.50 บาท รวมต้นทุนการผลิต
ต่อหน่วยทั้งสิ้น 140 บาท ผลตอบแทนที่ได้จากการจำหน่ายของที่ระลึก คือ 84 บาท
ต่อหน่วย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565, 18 กันยายน). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. https://www.mots.go.th/news/category/663

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565, 18 กันยายน). แถลงข่าวสถานการณ์ท่องเที่ยวของประเทศไทย. https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=1079

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธันยพงศ์ สารรัตน์, ชำนาญ โสดา และ สาคร ผมพันธ์. (2561). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านหว้าน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 2(3), 39-54.

ธีระชัย สุขสด. (2544). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. โอเดียนสโตร์.

นวลน้อย บุญวงษ์. (2542). หลักการออกแบบ (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาดล อามาตย์. (2550). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าของฝากของที่ระลึกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

สิริธัญญ์ ศิริพันธ์บุปผา. (2549). การศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึกจากผ้าทอชาวไทยทรงดำ จังหวัดเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อภิญญา จันทะหาร. (2551). ธุรกิจกลุ่มทอเสื่อกก บ้านหนองไม้ตาย ตำบลดอนเงิน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรณี บุญนิมิตร. (2540). พฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ระลึกของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

ศรีบุญเรือง ญ. . (2024). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าทอมือชุมชนบ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 8(2), 46–63. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/2413