ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียด ของผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ปราณี เนาวนิตย์ เนาวนิตย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กฤตภาส สีหะวงษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการความเครียด, ผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง, ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต

บทคัดย่อ

 ความเครียดเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญของทั่วโลก ซึ่งความเครียดเรื้อรังจะนำไปสู่อาการเจ็บป่วย ส่งผลถึงสุขภาพร่างกายไปจนถึงการนำไปสู่การฆ่าตัวตายการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและ
กลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย กิจกรรมการบรรยาย การรับชมวีดิทัศน์ สาธิต การปฏิบัติจัดการความเครียด และการติดตามการนำไปใช้ที่บ้าน ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับบริการตามปกติจากเจ้าหน้าที่ ระยะเวลา 10 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ โดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพจิต ทักษะความรู้ความเข้าใจในการจัดการความเครียด ทักษะการสื่อสารสุขภาพจิต ทักษะการรู้เท่าทันสื่อสุขภาพจิต ทักษะการตัดสินใจเพื่อจัดการความเครียด ทักษะการจัดการความเครียดตนเองและการปฏิบัติตนเพื่อจัดการความเครียด มากกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.001 ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับความเครียดน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.001 และน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.001 ดังนั้นโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม สามารถส่งเสริมพฤติกรรม
การจัดการความเครียดของผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564). วิเคราะห์สถิติของสายด่วน 1323. https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2417

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานอัตราการฆ่าตัวตาย ปี พ.ศ. 2563. https://dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp

พิกุล ทับวิธร, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว และทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. (2563). ผลของโปรแกรมพัฒนาความสุขร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ตำบลห้วยเตย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 590-602.

วัชรินทร์ เสาะเห็ม และ พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2563). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(3), 44-55.

วัฒนีย์ เย็นจิตร, พัชรินทร์ พลอยสิทธิ, โทน แห้วเพชรม และ เอกชัย โภไคยศสวรรค์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด คุณภาพชีวิต ค่าใช้จ่าย กับผลการศึกษาของนักศึกษาทัศนมาตรศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 25(3), 477-486.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจสุขภาพจิตของคนในประเทศไทย พ.ศ. 2563. http://Si Sa Ket.nso.go.th

เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว, และวัชรีวงค์ หวังมั่น. (2563). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(3), 419-429.

อรุโณทัย ปาทาน และ สิริมา มงคลสัมฤทธิ์. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลเมืองปทุมธานี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 12(2), 215-231.

อังคณา สมคง, สุทัศน์ ศุภนาม และกรรณิกา รักยิ่งเจริญ. (2564). ผลของโปรแกรมการสื่อสารทางบวกต่อความเครียดและการเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยวิกฤต. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(2), 100-110.

อรวรรณ ศิลปะกิจ. (2551). แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 16(3), 177-185

Cigna International. (2019). Chronic Stress: are we reaching health system burn out. https://cignainternational.com/360-well-being-study/

Elvan, E.A. and Selma, D. (2017). The effect of a brief cognitive behavioral stress management programme on mental status, coping with stress attitude and caregiver burden while caring for schizophrenic patients. Arch Psychiatr Nurs., 32(1), 112-119. https://pubmed.ncbi.nlm.nih. gov/29413060/

Pozos-Radillo, E., Preciado-Serrano, L., Plascencia-Campos, A. and Rayas-Servín, K. (2015). Chronic Stress and Its Association with Psychological, Behavioral and Physiological Variables of Mexican College Students. Advances in Applied Sociology, 5(12), 299-305. doi: 10.4236/ aasoci.2015.512029.

World Health Organization. (2018). Latest data. https://Si Sa Ket.who.int/data/gho

Zohreh, G.B., Parvin, M.S. and Esmat, N. (2021). The impact of stress management training on stress-related coping strategies and self-efficacy in hemodialysis patients: a randomized controlled clinical trial. BMC Psychol, 9(1), 177-186. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34758875/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

How to Cite

เนาวนิตย์ ป. เ., ปัดชาสุวรรณ์ น. ห. ., & สีหะวงษ์ ก. (2024). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการความเครียด ของผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 8(1), 93–118. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/2764