การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้าน ชุด รำโทนโนนไทย

ผู้แต่ง

  • สกุลรัตน์ อ่อนสันเทียะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์พื้นบ้านโคราช, การแสดงสร้างสรรค์, รำโทนโนนไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และองค์ประกอบการละเล่นรำโทนบ้านโคกมงคล ตำบลสำโรง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อสร้างสรรค์การแสดง เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้าน ชุด รำโทนโนนไทยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและวิธีการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ทัศนะของผู้เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ จากเอกสาร ตำรา หนังสือ บทความ และงานวิจัย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เนื้อหาทั้งหมด จนได้ข้อสรุปของผลวิจัย ดังนี้

1. ประวัติความเป็นมา และองค์ประกอบการละเล่นรำโทนบ้านโคกมงคล การละเล่นโทนของชาวบ้านชุมชนบ้านโคกมงคลมาจากวิถีชีวิตและความเชื่อจากพิธีกรรมในการเลี้ยงตาปู่ จะมีเข้าทรงและจะตีโทนเดี่ยวโทนคู่ประกอบการเข้าทรง มีการนำข้าวเหนียวมาปั้นเงิน 12 ทอง 15 เป็นนัยว่ามั่งมี สร้างขวัญกำลังใจและไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ชาวบ้านโคกมงคลจะนิยมละเล่นรำโทนเพื่อความสนุกสนานตามงานประเพณี เทศกาลวันตรุษสงกรานต์ งานมงคลของชุมชน 2. สร้างสรรค์การแสดง เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้าน ชุด รำโทนโนนไทย ตามองค์ประกอบการแสดง 7 ข้อ ดังนี้ 1) การออกแบบแนวคิดในการสร้างสรรค์การแสดง 2) การออกแบบลีลาท่ารำในการแสดง 3) การออกแบบเครื่องดนตรีและบทร้อง 4) การออกแบบเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ 5) การออกแบบรูปแบบการแปรแถว 6) การออกแบบการคัดเลือกนักแสดง 7) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง ซึ่งการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านรำโทน จึงสามารถสร้างความเป็นสุนทรียะทางด้านนาฏศิลป์ได้อย่างสวยงามโดดเด่น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมรำโทนได้อย่างมีคุณค่า ซึ่งผู้วิจัยได้เล็งเห็นคุณค่าของการละเล่นรำโทนซึ่งเป็นเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชน สามารถนำไปต่อยอดในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยต่อไปในอนาคตได้

References

ปิ่นเกศ วัชรปาณ. (2559). การสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์. สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

พจมาน สมรรคบุตร. (2538). แนวคิดประดิษฐ์ท่ารําเซิ้ง. สำนักส่งเสริมวิชาการสถาบันราชภัฏอุดรธานี.

พีระพงศ์ เสนไสย. (2546). นาฏยะประดิษฐ์. ประสานการพิมพ์.

สมหวัง คงประยูร. (ม.ป.ป ). ศิลปะพื้นบ้าน. โรงพิมพ์ส่งเสริมธุรกิจ.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2477 (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา กล่ำเจริญ. (2546). รําโทน: กรณีศึกษาเฉพาะกรณีอําเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. งานวิจัยภาควิชานาฏศิลป์และการละคร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

How to Cite

อ่อนสันเทียะ ส. . (2024). การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้าน ชุด รำโทนโนนไทย. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 8(1), 119–136. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/2828