กระบวนการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดอุบลราชธานี และออกแบบฉลากบนบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการขาย

ผู้แต่ง

  • เจษฎา สายสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ประทักษ์ คูณทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • ฐชาดา โคตรมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนากลุ่ม, การออกแบบสัญญาลักษณ์บรรจุภัณฑ์, ผู้ปลูกกาแฟ, บรรจุภัณฑ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการมีส่วนร่วมของเกษตรกรต่อการสร้างกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟและดำเนินการสร้างรูปแบบกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟที่มีความเข้มแข็งอย่างมีส่วนร่วมในจังหวัดอุบลราชธานี และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ภายในกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดอุบลราชธานี ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย
เริ่มจากการวางแผนการสร้างองค์กรความรู้เพื่อพัฒนาซึ่งเป็นขั้นตอนประชุมนักวิจัยเพื่อวางแผนการวิจัยเพื่อกำหนดเป้าหมาย กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินการวิจัยกระบวนการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นทำการสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาซึ่งเป็นขั้นตอนการทบทวนทฤษฎีและวรรณกรรม
ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย และทำการศึกษาข้อมูลจากการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม และ การประชุมย่อยของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อหาประเด็นของปัญหาและแนวทางในการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดอุบลราชธานี ผลงานวิจัยพบว่าเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟกลุ่มเริ่มต้นในจังหวัดอุบลราชธานี ที่รวบรวมได้มีทั้งหมด 30 รายในหลายอำเภอ เมื่อดำเนินการพัฒนากลุ่ม โดยได้ทำการเลือกกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟภูหญ้าคา บ้านพลาญชัย ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ในรูปแบบ 3 ขั้นตอน คือ การจัดตั้งกลุ่ม การเคลื่อนไหวของกลุ่ม และ การเจริญเติบโตของกลุ่ม พบว่าในการสร้างรูปแบบของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟที่มีความเข้มแข็งอย่างมีส่วนร่วม ถือเป็นแบบอย่างที่ดีให้กลุ่มวิสาหกิจอื่นที่มีความสนใจสามารถนำรูปแบบไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทและศักยภาพของตนเอง และในแนวทางการพัฒนาตราสัญลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการขายพบว่าทางกลุ่มได้เลือกบรรจุภัณฑ์รูปแบบที่ 5 เพื่อนำไปใช้บรรจุกาแฟแบบเมล็ดคั่ว

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2558). คู่มือการดำเนินงานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตามแผนปฏิบัติการกรมการพัฒนาชุมชน. กระทรวงมหาดไทย.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). บทวิเคราะห์ธุรกิจเรื่องธุรกิจผลิตกาแฟ. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์.

อุบลวรรณ ซื่อสัตย์. (2563). ปัจจัยสัดส่วนประสมทางการตลาดและคุณภาพการบริการ กรณีศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านกาแฟสด ร้านมา นา เด้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

How to Cite

สายสุข เ. ., คูณทอง ป., & โคตรมงคล ฐ. . (2024). กระบวนการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดอุบลราชธานี และออกแบบฉลากบนบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการขาย. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 8(1), 137–154. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/3024