ผลการให้สุขศึกษาโดยใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพของนักเรียน โรงเรียนบ้านคอกช้าง จังหวัดพังงา
คำสำคัญ:
สุขศึกษา, สมุนไพรพื้นบ้าน, การดูแลสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้การใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพก่อนและหลังได้รับสุขศึกษาของนักเรียน โรงเรียนบ้านคอกช้าง จังหวัดพังงา และ 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการให้สุขศึกษาโดยใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพของนักเรียน โรงเรียนบ้านคอกช้าง จังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยนี้เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคอกช้าง จังหวัดพังงา จำนวน 43 คน ทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการให้สุขศึกษา แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการให้สุขศึกษาโดยใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Paired-t-test
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้การใช้สมุนไพรพื้นบ้าน
ในการดูแลสุขภาพหลังได้รับสุขศึกษาสูงกว่าก่อนได้รับสุขศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และระดับความพึงพอใจในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการให้สุขศึกษาโดยใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ± 0.67 คะแนน
References
กฤตฏ์ ชมภูวิเศษ และพัชรินทร์ ชมภูวิเศษ. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรพื้นบ้านสาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 15(2), 29-42.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชน (อายุ 7-14 ปี) กลุ่มประชาชน 15 ปีขึ้นไป. กระทรวงสาธารณสุข.
คงศักดิ์ วัฒนะโชต และกิตติภัฏ วงค์กระโซ. (2565). กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบําเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 8(3), 41-52.
ทัศดาพร เเจวิจารณ์, ณัฏฐณิชา สนั่นก้อง, นัซมีน เจ๊ะกา, สุกาญจนา กำลังมาก และยมล พิทักษ์ภาวศุทธิ. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพในสถานการณ์โควิด-19 ในนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์, 16(2), 60-73.
พัชราพร หัตถิยา, ธีระวุธ ธรรมกุล และอนัญญา ประดิษฐปรีชา. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของประชาชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 9(2), 285-296.
มนัสชนก คำรังสี และราตรี ศิริพันธุ์. (2565). การพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่อง ประโยชน์ของสมุนไพร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(2), 66-73.
ยุพาภรณ์ ติรไพรวงศ์, รัตติกร เหมือนนาดอน, ชัญญาวีร์ไชยวงศ์, วาสนา ขอนยาง และอรนิด นิคม. (2563). ความรอบรู้สุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพและภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตเทศบาลตําบลโนนสูง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(3), 78-93.
สิรินดา นัดสูงวงศ์, สันติ ศรีสวนแตง และประสงค์ ตันพิชัย. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการเรื่องการดูแลตนเองด้วยภูมิปัญญาสมุนไพรสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนบ้านลานแหลม (สรนุวัตรราษฎร์อุทิศ) อําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1419-1436.
อัษฎาวุฒิ แก้วส่องศึก และดวงใจ พุทธเษม. (2563). การศึกษาผลการใช้สื่อออนไลน์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมอาหารและการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 4(1), 1-10.
Thai Health Promotion Foundation. (2023). Thai health 2023. Thai Health Promotion Foundation.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.