การสอนวรรณยุกต์แก่ชาวต่างชาติที่เรียนภาษาไทย
คำสำคัญ:
การสอน, วรรณยุกต์, ผู้เรียนชาวต่างชาติ, ภาษาไทยบทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องการสอนวรรณยุกต์แก่ชาวต่างชาติที่เรียนภาษาไทย มุ่งนำเสนอการสอนวรรณยุกต์แก่ผู้เรียนภาษาไทยชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นลำดับที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการสอนไตรยางศ์หรืออักษร 3 หมู่ เนื่องจากอักษรแต่ละหมู่มีพื้นเสียงร่วมและต่างกัน เมื่อผู้เรียนจดจำพื้นเสียงของอักษร 3 หมู่ได้แล้วจะสามารถถ่ายโยงการเรียนรู้ไปสู่เรื่องวรรณยุกต์ได้ เครื่องหมายวรรณยุกต์มีหลักที่ค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจากเครื่องหมายวรรณยุกต์ไม้ตรีและไม้จัตวาปรากฏได้กับอักษรกลางเมื่ออักษรกลางเป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ส่วนเครื่องหมายวรรณยุกต์ไม้เอกกับไม้โทกลับไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ ดังนั้น การสอนวรรณยุกต์แก่ผู้เรียนภาษาไทยชาวต่างชาติ ผู้สอน
จึงจำเป็นต้องสอนให้ผู้เรียนรู้จักทั้งเครื่องหมายวรรณยุกต์ เงื่อนไขการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องหมายวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ซึ่งเกี่ยวข้องกับเสียงสระและเสียงพยัญชนะท้ายของคำ และการถ่ายโยงการเรียนรู้เรื่องวรรณยุกต์ การที่ผู้เรียนแม่นยำทั้งหลักของไตรยางศ์และหลักของวรรณยุกต์จะส่งเสริมทักษะ
การสื่อสารภาษาไทยให้สามารถเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเป็นพื้นฐานนำไปสู่การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ความหมายในการสื่อสารในชีวิตประจำวันที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นต่อไปได้อีกด้วย
References
กาญจนา นาคสกุล. (2559). ระบบเสียงภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 8). โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราณี บุญชุ่ม. (2554). การเขียนสะกดคำ. ใน กาญจนา นาคสกุล และคณะ (บ.ก.), บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 1 : ระบบเสียง อักษรไทย การอ่านคำและการเขียนสะกดคำ (พิมพ์ครั้งที่ 2). (น. 119-140). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สถาบันภาษาไทย.
สุรางค์ แซ่โค้ว. (2559). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12 ฉบับปรับปรุงแก้ไข). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Juyaso. (2017). Read Thai in 10 Days. n.p.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.