ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยเชื้อสายจีนกับเงื่อนไขของการสร้างความเป็นเมืองในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ศิริวุฒิ วรรณทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธนิต โตอดิเทพ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เทพพร มังธานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

คนไทยเชื้อสายจีน, เงื่อนไขของการสร้างความเป็นเมือง, เทศบาลเมืองศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีจุดประสงค์
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยเชื้อสายจีนกับเงื่อนไขของการสร้างความเป็นเมืองในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการเก็บข้อมูล 2 วิธีการ คือ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Documentary research) และ 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In dept Interview) จากกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จำนวน 25 คน

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการกลายเป็นเมืองของเทศบาลเมืองศรีสะเกษ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ปัจจัยภายในเขตเทศบาล และปัจจัยภายนอกเขตเทศบาล โดยปัจจัยภายใน ได้แก่ 1) การเติบโตทางประชากร จากการขยายตัวของชุมชนและการย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น 2) การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการลงทุนภายในพื้นที่ 3) การขยายตัวของชุมชนเมืองและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในเมือง เมื่อประชากรในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 4) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมเมือง 5) ลักษณะทางกายภาพและสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่เอื้ออำนวยต่อการตั้งถิ่นฐานและการขยายตัว และ 6) วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์และสร้างความน่าสนใจ ด้านปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1) นโยบายและแผนพัฒนาของรัฐบาลในการส่งเสริมการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค 2) การเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการและการบริการด้านต่าง ๆ 3) การลงทุนจากภายนอกในโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค และ 4) กระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อพื้นที่ นอกจากนี้ ยังพบว่าการพัฒนาเมืองได้ส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อชุมชนท้องถิ่น อาทิ การเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน แต่ก็นำมาซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมและความเหลื่อมล้ำทางสังคม ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและสมดุลต่อไป

References

Abdullah, N. N., & Rahman, M. F. A. (2015). Chinese Economic Activities and Interests in Developing Countries. Australian Journal of Basic and Applied Sciences, 9(25), 79-86.

Ashmore, P., & Dodson, B. (2017). Urbanizing Physical Geography. The Canadian Geographer, 61(1), 102-106.

Collier, P., & Venables, A. J. (2016). Urban infrastructure for Development. Oxford Review of Economic Policy, 32(3), 391-409.

Henderson, J. V. (2003). Urbanization and Economic Development. Annals of Economics and Finance, 4(2), 275-341.

Keyfitz, N., & Philipov, D. (2010). Migration and Natural Increase in the Growth of Cities. Geographical Analysis, 13(4), 287-299.

Liu, Y., Xu, J., and Luo, H. (2014). An Integrated Approach to Modelling the Economy-Society-Ecology System in Urbanization Process. Sustainability, 6(4), 1946-1972.

Oliinyk, O., Serhiienko, L., & Legan, I. (2020). Public administration of economic and ecological urbanization Consequences. undamental and Applied Researches in Practice of Leading Scientific Schools, 37(1), 27-33

Paul, D., Demba, D. M., Katranas, A., & Kriek, D. (2022). Connecting Cities across Infrastructural Divides: Case Studies from Self-Build Practices in Tshwane East. Environmental Science and Sustainable Development, 7(2), 1-14.

Piyathamrongchai, K. (2006). A dynamic settlement simulation model: Applications to urban growth in Thailand [Doctoral dissertation]. University College London.

Reeitsu, K. (1996). Introduction: Population Migration and Urbanization in Developing Countries. Developing Economies, 34(4), 349-369.

Sorndee, K., Siengthai, S., & Swierczek, F. W. (2017). Closing Cultural Distance: The Cultural Adaptability in Chinese-Related Firms in Thailand. Journal of Asia Business Studies, 11(2), 229-250.

Thurlow, J., Dorosh, P., & Davis, B. (2019). Demographic Change, Agriculture, and Rural Poverty. Sustainable Food and Agriculture, Academic Press, 31-53.

Wei, H., Nian, M., & Li, L. (2023). Studies on Urbanization and Regional Development Strategies and Policies. In: Xie, F., Cai, F., Li, X. (eds) The New Journey of China’s Economic and Social Development. Springer, Singapore.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

วรรณทอง ศ. ., โตอดิเทพ ธ. ., & มังธานี เ. . (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยเชื้อสายจีนกับเงื่อนไขของการสร้างความเป็นเมืองในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 8(2), 64–83. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/3778