ระดับความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
คำสำคัญ:
ระดับความวิตกกังวล, การพูดภาษาอังกฤษ, นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจชั้นปีที่ 3, กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความวิตกกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 120 คน ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยใช้แบบสอบถามเพื่อวัดระดับความวิตกกังวล
ในการพูดภาษาอังกฤษในการเก็บรวมรวบข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่านักศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีระดับความวิตกกังวลในภาพรวมเท่ากัน ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยดังนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีค่าเฉลี่ย ที่ 3.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 1.02 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีค่าเฉลี่ย
ที่ 3.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.95 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีค่าเฉลี่ย
ที่ 3.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 1.21 และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีค่าเฉลี่ย
ที่ 3.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) 1.07
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564). https://inspec.moe.go.th/
พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2547). ภาพรวมของการศึกษาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552–2559). บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2539). วิธีสอนภาษาอังกฤษ (พิมพ์ครั้งที่3). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
อริสรา ธนาปกิจ. (22 พฤศจิกายน 2555). คนไทยไร้ความกล้า ส่งผลพูดภาษาอังกฤษรองบ๊วยโลก. เดลินิวส์, 8.
MacIntyre, P.D. (1995). How does anxiety affect second language learning?. The Modern Language Journal, 79(1), 90-99.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.