การออกแบบอัตลักษณ์ชุมชนผ่านผลิตภัณฑ์การแปรรูปสินค้าจากหอยกะพงของกลุ่มประมงพื้นบ้านอนุรักษ์บ้านบางจัน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

ผู้แต่ง

  • ปัทมาสน์ พิณนุกูล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • รุ่งรัตน์ ทองสกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • วัชรี หิรัญพันธุ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

การออกแบบ, อัตลักษณ์ชุมชน, ผลิตภัณฑ์, กลุ่มประมงพื้นบ้าน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและถอดอัตลักษณ์ความเป็นชุมชนบ้านบางจัน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา และ 2) ศึกษากระบวนการออกแบบอัตลักษณ์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหอยกะพงของกลุ่มประมงพื้นบ้านอนุรักษ์บ้านบางจัน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยการสำรวจและสังเกตบริบทพื้นที่ การสัมภาษณ์ และการประเมินความพึงพอใจ เพื่อนำไปสู่การถอดอัตลักษณ์ และออกแบบอัตลักษณ์ชุมชนผ่านผลิตภัณฑ์การแปรรูปสินค้าจากหอยกะพง

            ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตลักษณ์ความเป็นชุมชนแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ อัตลักษณ์ภูมิทัศน์ทางธรรมชาติ จากทรัพยากรท้องถิ่นด้านอาหารทะเล “หอยกะพง” ที่มีอยู่จำนวนมาก และอัตลักษณ์ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม จากความสัมพันธ์ของวิถีชุมชน การทำประมงพื้นบ้าน ภูมิปัญญาการหาหอยกะพง การผสมผสานของความเป็นอัตลักษณ์ส่งผลต่อความต้องการผลิตภัณฑ์แปรรูปผลิตภัณฑ์จากหอยกะพง และ 2) การออกแบบอัตลักษณ์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่ หอยกะพงสามรส ข้าวเกรียบหอยกะพง และเปลือกหอยกะพงปรับสภาพดิน มีองค์ประกอบการออกแบบ ได้แก่ 2.1) ชื่อตามสถานที่ทางภูมิศาสตร์ และชื่อผลิตภัณฑ์ 2.2) ตราสัญลักษณ์ โลโก้ 2.3) สโลแกน 2.4) ทัศนศิลป์
อัตลักษณ์ 2.5) รูปแบบตัวอักษร และ 2.6) ความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นอัตลักษณ์ สร้างการจดจำ ดึงดูดความสนใจ และเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ชุมชน

References

ทิพย์ลักษณ์ โกมลวณิช, กมลศิริ วงศ์หมึก, ปรวรรณ ดวงรัตน์, ณมณ ขันธชวะนะ และ ธนิต จึงดำรงกิจ. (2566). การออกแบบอัตลักษณ์ชุมชนผ่านผลิตภัณฑ์ของ

ที่ระลึกและสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยว เทศบาลตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารศิลปกรรมสาร, 16(2), 1-32.

นิสากร กล้าณรงค์ และ ศุภรัตน์ พิณสุวรรณ. (2567). การออกแบบผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวและนำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจชุมชนของตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล. วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 19(1), 73-92.

ปาพจน์ หนุนภักดี. (2553). หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์. ไอดีซีพรีเมียร์.

ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559). Branding 4.0. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

รจนา จันทราสา และภานุ พัฒนปณิธิพงศ์. (2554). การพัฒนาการสัญลักษณ์และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประเภทผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์น้ำตาลมะพร้าว อำเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงคราม. การพัฒนาอนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ. (น. 27-29). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัชราธร เพ็ญศศิธร. (2564). สีที่สะท้อนบุคลิกภาพการออกแบบกราฟิกเพื่อนำเสนอจุดขายสินค้าสะดวกซื้อ. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 33(23), 159-174.

ศรันยา เสี่ยงอารมณ์ และคณะ. (2564). เป็นเรื่อง เป็นเรา คู่มือกระบวนการถอดอัตลักษณ์เพื่อออกแบบเรื่องราวและอัตลักษณ์ของแบรนด์สินค้าชุมชน. หน่วยปฏิบัติการวิจัยด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์. (2553). หลักการออกแบบศิลปะ : Principles of Design. ไว้ลาย.

สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์. เอ-บุ๊ค ดิสทริบิวชั่น.

องค์การบริหารส่วนตำบลหล่อยูง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา. (2566). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570). ม.ป.ท.

Phonkhunsap, S. (2018) The Identity of I-san People in the Novel “Kham Ai” of Yong Yasothon. Proceedings of 14th International Conference on Humanities and Social Sciences 2018 (IC-HUSO 2018) 22nd-23rd November 2018, Faculty of Humanities and Social Sciences. Khon Kaen University. Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

พิณนุกูล ป. ., ทองสกุล ร. ., & หิรัญพันธุ์ ว. . (2024). การออกแบบอัตลักษณ์ชุมชนผ่านผลิตภัณฑ์การแปรรูปสินค้าจากหอยกะพงของกลุ่มประมงพื้นบ้านอนุรักษ์บ้านบางจัน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 8(2), 177–199. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/4096