การลงโทษที่เหมาะสมกับบุตร : การวิเคราะห์เชิงลึกในมุมมองทางกฎหมายและจริยธรรม

ผู้แต่ง

  • จันทราทิพย์ สุขุม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • นงลักษณ์ อานี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

การลงโทษตามสมควร, การลงโทษทางร่างกาย, สิทธิเด็ก, การปฏิรูปกฎหมาย, มุมมองทางจริยธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองทางกฎหมายและจริยธรรม ตลอดจนการเปรียบเทียบเกี่ยวกับการลงโทษบุตรในประเทศไทย และในต่างประเทศ ได้แก่ สวีเดน สกอตแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา และเสนอแนวทางการลงโทษบุตรที่เหมาะสมที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมของประเทศไทย
โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเน้นการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารและกฎหมายต่าง ๆ ผลการวิจัยพบว่า การลงโทษบุตรในประเทศไทยภายใต้มาตรา 1567 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งอนุญาตให้ลงโทษบุตรตามสมควร พบว่าคำว่า “ตามสมควร” ยังขาดความชัดเจนและอาจเปิดโอกาสให้มีการใช้ความรุนแรงเกินควรกับบุตร ในขณะที่สวีเดนและสกอตแลนด์เน้นห้ามการลงโทษทางกายเพื่อปกป้องสิทธิและศักดิ์ศรีของเด็กตามมาตรฐานสากล สำหรับสิงคโปร์และมาเลเซียยังคงอนุญาตให้มีการลงโทษทางกายแต่รักษาสมดุลระหว่างการลงโทษและสวัสดิภาพของเด็ก ส่วนสหรัฐอเมริกามีทั้งอนุญาตให้มีการลงโทษและห้ามอย่างเข้มงวด จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศข้างต้นจึงมีความแตกต่างอย่างมากในแนวทางการลงโทษบุตร อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสิ่งสำคัญที่สุดตามมาตรฐานสากล มุมมองทางจริยธรรม แนวทางที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ และข้อค้นพบจากงานวิจัยที่ว่า การลงโทษทางร่างกายอาจทำลายศักดิ์ศรีของเด็ก ทำลายสุขภาพจิต และนำไปสู่ความก้าวร้าว พฤติกรรมต่อต้านสังคม และความเป็นอยู่ที่ดีทางจิตใจที่ลดลง งานวิจัยนี้จึงเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมายไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อปกป้องเด็กจากความรุนแรงทุกรูปแบบ และส่งเสริมวิธีเลี้ยงดูที่ไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนากฎหมายและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
ในสังคมไทย

References

กนกวรรณ รุจนเวชช์, บัญญัติ ยงย่วน และ สาวิตรี ทยานศิลป์. (2566). การศึกษาการลงโทษทางร่างกายในเด็กของผู้เลี้ยงดูต่างช่วงวัย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(11), 347-357.

ปองทิพย์ ใจเมา. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปัณณวัชร์ อภิโชติเฉลิมรัฐ. (2563). หลักประโยชน์สูงสุดของเด็กกับการลงโทษทางร่างกายตามสมควร [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Ainsworth, M. D. S. (1979). Infant–Mother Attachment. American Psychologist, 34(10), 932–937.

Council of Europe. (2001). Physical Punishment of Children: Global Progress. https://www.coe.int.

Durrant, J. E. (2016). Positive Discipline in Everyday Parenting. Save the Children.

Durrant, J. E., & Ensom, R. (2012). Physical Punishment of Children: Lessons from 20 Years of Research. Canadian Medical Association Journal, 184(12), 1373–1377.

Elliott, C., & Quinn, F. (2016). Criminal Law. Pearson Education.

Gershoff, E. T. (2013). Spanking and child development: We Know Enough Now to Stop Hitting Our Children. Child Development Perspectives, 7(3), 133–137.

Gershoff, E. T., & Grogan-Kaylor, A. (2016). Spanking and Child Outcomes: Old Controversies and New Meta-Analyses. Journal of Family Psychology, 30(4), 453–469.

Gilligan, C. (1982). In a Different Voice: Psychological Theory and Women’s Development. Harvard University Press.

Global Initiative to End All Corporal Punishment of Children. (2021). Global Progress. https://endco rporalpunishment.org/countdown/

Hickman & Rose. (n.d.). The Demise of ‘Reasonable Chastisement’: Will We See a Smack Ban in England?. https://www.hickmanandrose.co.uk

Law Society of Scotland. (n.d.). What is Reasonable Chastisement?. https://www.lawscot.org.uk

Lenta, P. (2012). Corporal Punishment of Children. Social Theory and Practice, 38(4), 689–716.

Lerman, D. C., & Vorndran, C. M. (2002). On the Status of Knowledge for Using Punishment: Implications for Treating Behavior Disorders. Journal of Applied Behavior Analysis, 35(4), 431–464.

Tan, D. (2018). The Legal and Cultural Boundaries of Reasonable Chastisement in Singapore. Singapore Journal of Legal Studies, 35(2), 24–42.

UN Committee on the Rights of the Child. (2006). General Comment No. 8: The Right of the Child to Protection from Corporal Punishment and Other Cruel or Degrading Forms of Punishment. CRC/C/GC/8.

UNICEF. (2014). UNICEF Annual Report 2014. https://www.unicef.org/publications /file s/UNICEF_Annual _Re port_2014.pdf

UNICEF. (2020). Corporal Punishment and Children’s Rights in ASEAN: A Call for Action. https://www. unicef.org/eap/reports/corporal-punishm ent-childrens-rights-asean

United Nations Convention on the Rights of the Child. (1989). UNCRC. United Nations Treaty Collection. https://treaties.un.org/Pages/ViewDetails.aspx?src=TREATY&mtdsg_no=IV-11&chapter=4&clang=_en

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

สุขุม จ. ., & อานี น. . (2024). การลงโทษที่เหมาะสมกับบุตร : การวิเคราะห์เชิงลึกในมุมมองทางกฎหมายและจริยธรรม. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 8(2), 200–222. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/4098