ฮูบแต้มฝาผนัง : สื่อสร้างสรรค์ทางสังคมวัฒนธรรมอีสาน
คำสำคัญ:
ฮูบแต้มฝาผนัง, จิตรกรรมฝาผนัง, สื่อสร้างสรรค์, สังคมวัฒนธรรมอีสานบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ เรียบเรียงความเป็นมา ความสำคัญ และบทบาทของฮูบแต้มฝาผนังหรือจิตรกรรมฝาผนังในอีสาน ในฐานะที่เป็นสื่อสร้างสรรค์ทางสังคมวัฒนธรรม โดยศึกษาจากตัวอย่างงานฮูบแต้มฝาผนังอีสานทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่ปรากฏอยู่ในท้องถิ่นภาคอีสานตอนล่างเป็นหลัก ซึ่งจากการศึกษาพบว่า งานฮูบแต้มฝาผนังอีสานมีปรากฏร่องรอยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ไล่เรียงมาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ชาติไทย และยุคปัจจุบันตามลำดับ งานฮูบแต้มฝาผนังส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสนองความเชื่อถือศรัทธา เพื่อเป็นพุทธบูชา เป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับชุมชน และยังใช้เป็นเครื่องตกแต่งพุทธศาสนสถานให้เกิดความสวยงาม น่าศรัทธาเลื่อมใส โดยมีรูปแบบและเนื้อหาที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนอีสานในแต่ละยุคสมัย ตลอดจนอิทธิพลจากพื้นที่ใกล้เคียง บ่งบอกลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมและวิถีการดำเนินชีวิตของคน
ในท้องถิ่นได้อย่างหลากหลาย เป็นงานศิลปกรรมที่ทรงคุณค่า สมควรแก่การอนุรักษ์ ส่งเสริมพัฒนาให้เป็นสมบัติคู่กับชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ทางพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีการดำเนินชีวิต ตลอดจนสังคมวัฒนธรรมทุก ๆ ด้านของชาวอีสาน
References
บุรินทร์ เปล่งดีสกุล. (2554). พัฒนาการของจิตรกรรมฝาผนังอีสาน : กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น มหาสารคามและร้อยเอ็ด. วารสารศิลปกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 85-86.
พระมหาอำพล บุดดาสาร. (2546). การศึกษาวิเคราะห์พุทธปรัชญาและพุทธศิลป์จากภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องบาลีชาดก วัดเครือวัลย์วรวิหาร [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิทักษ์ น้อยวังคลัง. (2541). ศิลปกรรมท้องถิ่นมหาสารคาม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไพโรจน์ สโมสร. (2532). จิตรกรรมฝาผนังอีสาน. อมรินทร์พริ้นติ้ง.
มนัส จอมปรุ. (2562). ฮูปแต้มอีสาน : การวิเคราะห์รูปและความหมายจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การตกแต่งพื้นที่ฝาผนังสิมร่วมสมัยอีสาน [ดุษฎีนิพนธ์ที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช. (2555). ศิลปะกับสังคมไทย.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มูลนิธิสมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. (2555, 20 พฤศจิกายน). นัยภาพประวัติศาสตร์สามัญชนบนผนัง. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. http://thai.culture.go.th/murals.
ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2560). จิตรกรรมฝาผนังพุทธอุโบสถอีสานในบริบทสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นสมัยประเทศสยาม.วารสารนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 5(2), 41-50.
สุมาลี เอกชนนิยม. (2546). ศิลปะจินตทัศน์ : กรณีศึกษาจิตรกรรมฝาผนังพื้นบ้านอีสานสิมวัดโพธาราและวัดป่าเรไร [ปริญญานิพนธ์ที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.