การวิเคราะห์แบบท่าการใช้ไหล่ของนาฏศิลป์จีนมองโกเลีย: นาฏลักษณ์และความหมาย
คำสำคัญ:
นาฏศิลป์จีนมองโกเลีย, แบบท่าการใช้ไหล่, นาฏลักษณ์บทคัดย่อ
นาฏศิลป์มองโกเลียเป็นการแสดงทางวัฒนธรรมที่รังสรรค์ขึ้นจากกลุ่มชาติพันธุ์มองโกเลียผู้ซึ่งถูกนิยามว่า “เกิดมาบนหลังม้า” เป็นนาฏศิลป์ที่มีจังหวะ แสดงถึง
ความกระตือรือร้น และลักษณะของการเป็นผู้นำ อันเป็นธรรมชาติของชาวมองโกเลีย
โดยมีนาฏลักษณ์แบบท่าการใช้ไหล่ที่เป็นเอกลักษณ์สะท้อนถึงสุนทรียศาสตร์ของ
ชาวมองโกเลีย งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นาฏลักษณ์แบบท่าการใช้ไหล่
ของนาฏศิลป์จีนมองโกเลีย และวิเคราะห์ความหมายทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่แฝงฝังอยู่ในท่วงท่าของนาฏลักษณ์
งานวิจัยชิ้นนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาทางการวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมและสำรวจสถานภาพองค์ความรู้คู่ไปกับการวิจัยภาคสนามแบบมีส่วนร่วม
ณ วิทยาลัยเทคโนโลยี และธุรกิจกว่างโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ผลของการวิจัยพบว่า นาฏลักษณ์แบบท่าการใช้ไหล่ของนาฏศิลป์มองโกเลีย ประกอบด้วย แบบท่า
สลับไหล่แบบเน้นน้ำหนัก แบบท่าสลับไหล่แบบไม่เน้นน้ำหนัก แบบท่าหมุนไหล่ แบบท่าสะบัดไหล่แบบจังหวะสั้น แบบท่าสะบัดไหล่แบบจังหวะยาว และแบบท่ายักไหล่ โดยแต่ละนาฏลักษณ์แบบท่า มีความหมายสะท้อนและเชื่อมโยงถึงบุคลิกภาพ อุปนิสัย วิถีชีวิต และนิเวศวิทยาทางวัฒนธรรมของชาวมองโกเลียอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ แบบท่าสลับไหล่แบบเน้นน้ำหนักและไม่เน้นน้ำหนัก มีนัยสื่อถึงความสง่างามและความมีชีวิตชีวาของ
ชาวมองโกเลีย แบบท่าหมุนไหล่ มีนัยสื่อถึงบุคลิกภาพที่สุภาพอ่อนน้อม แบบท่าสะบัดไหล่แบบจังหวะสั้นและยาว มีนัยสื่อถึงการจำลองท่วงท่าของการขี่ม้า และแบบท่ายักไหล่
มีนัยสื่อถึงบุคลิกภาพของชาวมองโกเลียที่เป็นคนร่าเริง รักสนุก และยังสื่อถึงท่วงท่าของการขี่ม้าเช่นกัน
References
Feng, A. (2011). Chinese Mongolian Folk Dance. Beijing Sports University Publishing House.
Gao, S. & Wei, Y. (1998). Analects of Dance [M]. Inner Mongolian Education Press.
Guang, Z. (2018). On the westward migration of the Xiong Nu and the Great Migration of Western Europeans to the Motherland[J]. Zhuguo, 11(1), 68-70. https://golink.icu/pL7jDNt
Pan, Z. (2001). Teaching Methods of Chinese Folk Dance [M]. Shanghai Music Publishing House.
Sang, R. (2019). Analysis and Training of Shoulder Movements in Mongolian Dance [J]. Beijiguang, 8(1), 30-31. https://golink.icu/5dIvZkT
Siqin, T. (2008). Mongolian Dances Collected by Siqintariha [M]. Inner Mongolia People’s Publishing House.
Wen, H. (2006). On the Conventional and Cultural Significance of Mongolia Dance [J]. Heilongjiang National Series, 3(1), 114-117. https://golink.icu/3zSmXhB
Zhao, L. (2010). On Development of Mongolian Dance Teaching [J]. Dance, 8(1), 54-58. https://golink.icu/MPRnLRb
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.