การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
หลักพุทธธรรม, เสริมสร้าง, ความเป็นพลเมืองในประชาธิปไตย, หลักสัปปุริสธรรม 7บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนจังหวัดสมุทรสงคราม 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมือง และ 3. นำเสนอการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 18 คน และจัดการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ให้ข้อมูลจำนวน 9 คน เพื่อยืนยันข้อมูลเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 399 คน คำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จากประชากรทั้งหมด 127,460 คน ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนจังหวัดสมุทรสงครามควรมีคุณลักษณะสำคัญ 6 ประการ ได้แก่ ความรับผิดชอบตนเอง การเคารพสิทธิของผู้อื่น การเคารพความแตกต่าง การเคารพหลักความเสมอภาค การเคารพกติกา และความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งส่งเสริมประชาธิปไตยให้มั่นคงและยั่งยืน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมือง ได้แก่ ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ และความรู้ โดยสามารถทำนายแนวโน้มของความเป็นพลเมืองได้ร้อยละ 60.6 และหลักพุทธธรรมโดยเฉพาะหลักสัปปุริสธรรม 7 ประการ สามารถทำนายแนวโน้มได้ร้อยละ 67.7 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวคิดทางพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความเป็นพลเมือง และ 3. การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ประการ ได้แก่ การรู้จักเหตุ ผล ตนเอง ประมาณ กาลเวลา ชุมชน และบุคคล ช่วยเสริมสร้างวิจารณญาณ ความร่วมมือ และประชาธิปไตยที่มั่นคงในระดับท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
References
จารุวรรณ แก้วมะโน. (มปป.). พลเมือง (Citizenship). สืบค้น 8 มกราคม 2567, จาก https://shorturl.asia/dOhfG
ชนาธิป ศรีโท และคณะ. (2563). การบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมเพื่อขับเคลื่อนความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(1), 344-353.
ณฐมน หมวกฉิม. (2564). การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปของไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบันฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน. (2550, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. หน้า 61.
พระชาณรงค์ โชติธมฺโม. (2566). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบันฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2567). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. สืบค้น 8 มกราคม 2567, จาก https://shorturl.asia/a6jQd
สุวรรณ์ แก้วนะ. (2564). การพัฒนาคุณลักษณะตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบันฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Galston, W. A. (1991). Liberal Purposes: Goods, Virtues, and Diversity in the Liberal State. UK: Cambridge University Press.
Westheimer, J. & Kahne, J. (2004). What Kind of Citizen? The Politics of Educating for Democracy. American Educational Research Journal, 41(2), 237-269.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed.). NewYork: Harper and Row Publications.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.