ความคาดหวังในบทบาทของผู้ให้คำปรึกษาร่วมสมัยของนักศึกษา มหาวิทยาลัย X ในประเทศจีน

ผู้แต่ง

  • เฉี่ยวรุ่ย เฮ่อ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • เดชกุล มัทวานุกูล คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การศึกษา, รูปแบบการจัดการ, แบบสอบถาม

บทคัดย่อ

สืบเนื่องจากการที่มีนักศึกษาในประเทศจีนได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นั้น บทบาทของผู้ให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาโดยตรงเริ่มเป็นที่ยอมรับและได้รับความสนใจจากผู้ที่มีบทบาททางสังคม และในขณะเดียวกัน คุณลักษณะที่นักศึกษาคาดหวังจากผู้ให้คำปรึกษา ก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก การศึกษาในครั้งจึงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ต่อบทบาทของผู้ให้คำปรึกษา 2) วิเคราะห์คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของบทบาทที่คาดหวังของผู้ให้คำปรึกษาระดับอุดมศึกษานักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ Mobile Learning ในระดับมาก

ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมในการดำเนินการวิจัย ณ มหาวิทยาลัย X และดำเนินการเก็บข้อมูลในเดือนพฤษภาคม พ.ศ 2565 ผู้วิจัยได้จำแนกข้อมูลเชิงปริมาณออกเป็น 4 ส่วนดังต่อไปนี้ 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล 2) ความคาดหวังของนักศึกษาที่มีต่อคุณลักษณะพื้นฐานของผู้ให้คำปรึกษา 3) ความคาดหวังของนักศึกษาต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้ให้คำปรึกษา 4) ความคาดหวังของนักศึกษาต่อกระบวนการการจัดการของผู้ให้คำปรึกษา ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาคาดหวังให้ผู้ให้คำปรึกษา มีความรู้ระดับมืออาชีพในด้านการสอนและจิตวิทยา มีความสามารถในการสื่อสารและมีความเข้าใจ มีทักษะในการจัดการ รวมไปถึงความสามารถในการสั่งการและประสานงานได้ 2) นักศึกษาคาดหวังที่จะมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับผู้ให้คำปรึกษา และคาดหวังให้ผู้ให้คำปรึกษามีแนวปฏิบัติที่ดีในการให้คำปรึกษาด้านสุขภาวะจิต การแนะแนวการหางาน และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา 3) นักศึกษามีความเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการใช้วิธีการบริหารจัดการแบบทีมเวิร์ค ร่วมกับผู้ให้คำปรึกษา นอกจากนั้นยังเห็นพ้องต้องกันในการนำแนวทางการจัดการ “เชิงความสัมพันธ์” มาปรับใช้กับผู้ให้คำปรึกษา อย่างไรก็ตาม ทัศนคติต่อแนวทางการจัดการแบบ “ทางสายกลาง”ของผู้ให้คำปรึกษายังคงมีอยู่อย่างหลากหลาย กล่าวคือ โดยพื้นฐานแล้วนักศึกษาไม่เห็นด้วยกับแนวทาง “การเชื่อฟังผู้มีอำนาจ” และ “การเพิกเฉย” ต่อการจัดการ ไปสรุปของผู้ให้คำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาควรพัฒนาทักษะวิชาชีพและความสามารถในการจัดการอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้นักศึกษาสามามารถพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้

References

Wang Peixian. (2019). A study on the Construction of College Counselors in the New Era - A comparative study based on the texts of Decree No.43 and Decree No. 24 of the Ministry of Education. Outside School Education in China. (12), 53-54.

Zhu Zhimei & Gu Xinrong. (2016). Research on the career development of College Counselors Based on role theory [J]. Jiangsu Higher Education. (06), 116- 118.

Sun Hongliang. (2005). Analysis on the current role and Countermeasures of college counselors [J]. Journal of Shengli Oilfield normal college. (6).

Wang Daoyang & Wei We. (2016). The evolution of college counselor system and Its Enlightenment. Research on Ideological and Political Education. (03), 101-104. doi: 10.15938/j.cnki.iper. 2016.03.023.

Chen Suquan. (2007). The role conflict and adjustment of College Counselors in the new era. Contemporary Education Forum (macro education research). (06), 105-107.

Zhang Lipeng. (2015). Three-dimensional consideration of the role of College Counselors in China (doctoral dissertation, Hebei Normal University). https://kns.cnki.net/KCMS/detail/

detail.aspx?dbname=CDFDLAST2015&filename=1015354728.nh

Xing Bing. (2004). On the "role" requirements of Counselors [J]. Journal of Anhui University of Technology (SOCIAL SCIENCE EDITION). (02), 144-145.

Xu Songwei. (2012). Encyclopedia of college counselor team construction and student work management in the new era [M]. Beijing: China Science and Technology Culture Press. 4-5.

Roger B., Jr. Winston. (2014). The Professional Student Affairs administrator [M]. New York: Brunner-Routledge, American College Personnel Association. The Student Learning Imperative: Implication for Student Affairs.

Li Wenhong. (2017). A comparative analysis of private and public college students' expectations for the role of counselors - Based on the perspective of counselors' work in private colleges and Universities [J]. College counselor Journal. 9(02), 24-31. DOI:10.13585/j.cnki.gxfdyxk.2017.02.007.

Zheng Xiaona. (2015). Investigation and analysis of Counselors Based on the perspective of College Students' expectations - a case study of 20 colleges and universities in Liaoning Province [J]. Research on Ideological and Political Education. 31(01), 128-133. DOI:10.15938/j.cnki.iper. 2015.01.034.

Liu Yankun & Zhu Jinxiu & Zou Tao. (2013). A survey of College Students' expectations of counselors - a survey of college students in 10 colleges and universities in Chongqing [J]. Research on Ideological Education. (01), 97-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29