การศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS

ผู้แต่ง

  • พันแสง จันทร์แดง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • สมพล พวงสั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • นิตยา พวงพุก โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยฉะเชิงเทรา

คำสำคัญ:

ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา, ทฤษฎีบทพีทาโกรัส, รูปแบบ SSCS

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS กับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 2) ศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS จำแนกตามขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยฉะเชิงเทรา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS จำแนกตามขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหา ดังนี้ ความสามารถในการทำความเข้าใจโจทย์ปัญหาอยู่ในระดับสูงมาก (ร้อยละ 95.00) ความสามารถในการดำเนินการแก้โจทย์ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 61.67) และความสามารถในการสรุปคำตอบของโจทย์ปัญหาอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 56.67)

References

จักรพงษ์ ผิวนวล. (2562). แนวทางการพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง กําหนดการเชิงเส้น โดยใช้รูปแบบ SSCS. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 34(3), 79-88.

เจนจิรา สรสวัสดิ์, วันดี เกษมสุขพิพัฒน์, และทรงชัย อักษรคิด. (2561). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบ SSCS. วารสารคณิตศาสตร์, 63(696), 35-51.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์ (1991).

ชวิศา สุริยะงาม. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(2), 73-86.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2566). การสอนเพื่อพัฒนามโนทัศน์ และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ศันสนีย์ เณรเทียน. (2560). การเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านปัญหาในชีวิตจริงที่เน้นการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์. วารสารครุศาสตร์, 45(2), 238-253.

ศุภกิจ หนูแก้ว, ชานนท์ จันทรา, และทรงชัย อักษรคิด. (2566). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิคบาร์โมเดล. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(1), 365-376.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูคณิตศาสตร์มืออาชีพ เส้นทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: 3-คิว มีเดีย.

อิศราวุฒิ ส้มซ่า. (2550). ผลของการสอนแบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถใน

การแก้โจทย์ปัญหาและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. คลังข้อมูลสารสนเทศดิจิทัลพิบูลสงคราม. http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/?q=th/node/117

อัมพร ม้าคะนอง. (2558). คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Krug, A., & Schukajlow-Wasjutinski, S. (2013). Problems with and without connection to reality students’ task-specific interest. In Anke M. Lindmeier, & Aiso Heinze (Eds.), Proceedings of the 37th Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education. (pp. 209-216). Kiel: PME.

Riyadi, Syarifah, T. J., & Nikmaturrohmah, P. (2021). Profile of students’ problem-solving skills viewed from polya's four-steps approach and elementary school students. European Journal of Educational Research, 10(4), 1625-1638.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024