การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชา คณิตศาสตร์การเงิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • อนุพงศ์ สุขเกษม โรงเรียนนนทรีวิทยา

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบนำตนเอง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, รูปแบบการจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 14 คน ใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 15 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ (100 นาที) รวมทั้งสิ้น 25 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบ       การจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นโดยการใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมนุษยนิยม (Humanism) แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) และแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบไปด้วยรายวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 15 แผนการเรียนรู้ แบบบันทึกผลการเรียนรู้ แบบวัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม

           ผลการวิจัยสรุปได้ว่า

  1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน (SCIF) ได้แก่ ขั้นที่ 1 เรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-study: S) ขั้นที่ 2 ตรวจสอบความเข้าใจ (Checking for understanding: C) ขั้นที่ 3 บูรณาการความรู้ (Integration: I) และ ขั้นที่ 4 สะท้อนผลลัพธ์ (Feedback: F)

          2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเอง      และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า 1) การเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนอยู่ในระดับมาก     อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กาญจนา จันทร์ประเสริฐ. (2556). การพัฒนาแบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองสำหรับนักศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(82), 23-40.

จารุวรรณ เชียวน้ำชุม และคณะ. (2560). รูปแบบแนวคิดทางทฤษฎี และงานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุของการเรียนรู้แบบนำตนเอง. สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 12(1). 125-140.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2560). ห้องเรียนกลับด้าน : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 171-182.

โชติมา หนูพริก. (2559). การประเมินเพื่อการเรียนรู้: การตั้งคำถาม และการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2), 18-30.

ฐานิดา ลิ่มวงศ์ และ ยุพาภรณ์ แสงฤทธิ์. (2562). ห้องเรียนกลับด้าน: การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 6(2), 9-17.

ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ. (2550). การประเมินวิธีเรียนของผู้เรียน. หนังสือชุดปฏิรูปการศึกษา การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพฯ : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รังสรรค์ แสงสุข และคณะ. (2544). ความรู้คู่คุณธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2558). การโค้ชเพื่อการรู้คิด. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์ การพิมพ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2564). การเรียนรู้แบบนำตนเองเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

ศิริบูรณ์ สายโกสุม. (2542). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : กลุ่มพัฒนานโยบายด้านการเรียนรู้ สำนักมาตรฐานการศึกษาพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). การประเมินเพื่อการเรียนรู้ : การตั้งคำถามและการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2563). การพัฒนาหลักสูตร. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

อาลาวีย๊ะ สะอะ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อุไรวรรณ ชินพงษ์ และคณะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 18(2), 261-272.

ไอริสา พรหมจรรย์. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดมนุษยนิยมแนวใหม่ ในการเสริมสร้างอัตมโนทัศน์และแรงจูงใจต่อเนื่องของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Hiemstra, R. (1994). Self-directed learning. In T. Husen & T.N. Postethwaite (Eds), The International Encyclopedia of Education, Oxford: Pergamon Press. Reprinted here by permission.

Kapur, R. (2019). Significance of Self-Directed Learning. Retrieved January, 27, 2024, From https://www.researchgate.net/publication/335096519_Significance_of_Self-Directed_Learning.

Loeng, S. (2020). Self-Directed Learning: A Core Concept in Adult Education. Hindawi Education Research International. 2020. 1-12.

Mathew, B., P. (2020). The role of feedback in classroom instruction. Retrieved January, 30, 2024, From

https://www.researchgate.net/publication/341001451_The_role_of_feedback_in_classroom_instruction.

Sanmugarevathi, M. & Lyer, L. (2020). Application of Humanism Theory in the Teaching Approach. Retrieved January, 31, 2024, From https://www.researchgate.net/publication/339017951_Application_of_Humanism_Theory_in_the_Teaching_Approach.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2025