การพัฒนาสมรรถนะครูภาษาไทยรุ่นใหม่สำหรับการปฏิวัติทางการศึกษาดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • วรพล ศรีเทพ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๐๒ (บ้านเกาะเต่า) จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะครูภาษาไทยรุ่นใหม่, การศึกษาดิจิทัล, การศึกษาสู่ความเป็นเลิศ , การจัดการเรียนรู้เชิงรุก , Active Learning

บทคัดย่อ

การปฏิวัติเทคโนโลยีดิจิทัลได้สร้างความท้าทายต่อวิธีการสอนภาษาไทยแบบดั้งเดิม ซึ่งอาจทำให้นักเรียนขาดแรงจูงใจหากครูยังยึดติดกับวิธีการสอนเก่าที่ขาดการบูรณาการเทคโนโลยี สื่อการสอนที่น่าสนใจ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยนิพนธ์บทความนำเสนอรูปแบบกระบวนการพัฒนาสมรรถนะครูภาษาไทยรุ่นใหม่ในยุคการศึกษาดิจิทัล เรียกว่า "COOLTHAISA" ประกอบด้วยกระบวนการพัฒนาและสมรรถนะครูภาษาไทยรุ่นใหม่ในยุคการศึกษาดิจิทัล ได้แก่ กระบวนการพัฒนาสมรรถนะครูภาษาไทยรุ่นใหม่ในยุคการศึกษาดิจิทัล ประกอบด้วย การเสริมสร้างความรู้ดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้แบบผสมผสาน ออกแบบสื่อมัลติมีเดีย ประยุกต์ใช้เกมเพื่อการเรียนรู้ ปรับวิธีสอนตามความต้องการรายบุคคล ประยุกต์ใช้การประเมินผลดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียน นำเทคโนโลยี VR/AR มาใช้ แลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติที่ดี ยอมรับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และสมรรถนะครูภาษาไทยรุ่นใหม่ในยุคการศึกษาดิจิทัล ประกอบด้วย ปรับตัวอย่างมืออาชีพ เครื่องจักรสร้างสรรค์การเรียนรู้ เปลี่ยนรูปแบบใหม่ โลกจำลองพลิกการเรียนรู้ ปัญญาแห่งการเรียนรู้ถาวร ซึ่งกระบวนการพัฒนาข้างต้นจะเป็นการช่วยส่งเสริมการปฏิรูปการสอนภาษาไทยยุคใหม่อันเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ครุศาสตร์ปัญญา. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทักษะครูในศตวรรษที่ 21. สืบค้น จาก https://karusatpanya.org.

ชาญชัย พิพัฒนศาสตร์สกุล. (2557). การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). วารสารมหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์, 6(2), 174-182.

บรรจง อมรชีวิน. (2557). การเรียนรู้เชิงรุก. วารสาร Online Journal Review วิทยาลัย นครราชสีมา, 4(1), 1-5.

บอนเวลล์ และไอสัน. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. (ชาญชัย พิพัฒนศาสตร์สกุล, ผู้แปล). วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2), 174-182.

บุญชนก ธรรมวงศา. (2561). 4CS: สี่ทักษะการเรียนรู้ที่ควรมี ฝึกกันได้ และไม่ต้องใช้พรสวรรค์. สืบค้นจาก ttps://thepotential.org/knowledge/4cs-for-21st-century-learning/.

พริษฐ์ วัชรสินธุ. (2563). เมื่อ “เทคโนโลยี” เป็นตัวช่วยการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้น กรกฎาคม, 5, 2564. จาก ttps://www.bangkokbiznews.com/news/detail/888901.

พงศ์พิชญ์ เฮ้าปาน. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open approach) เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องดาวฤกษ์สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิชญ์สินี มะโน. (2562). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในยุค DIGITAL DISRUPTION ต่อ การศึกษา THE IMPACT OF DIGITAL DISRUPTION TO THE EDUCATION. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(1), 1-6.

พระปลัดสถาพร ปุ่มเป้า. (2565). แนวทางการสอนภาษาไทยในชีวิตวิถีใหม่ ท่ามกลางวิกฤตการณ์ COVID-19. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(8), 388-403.

พระมหานรินทร์ ประสมพงศ์ และพระมหาสมศักดิ์ ทองบ่อ. (2565). การพัฒนาทักษะการใช้ ภาษาไทยเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในยุค 4.0. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สํานักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 7(2), 271-282.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรง พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2561). คุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/68571/-teaartedu- teaart-teaarttea-

วุฒิชัย ภูดี และชัยณรงค์ เพียรภายลุน. (2564). อนาคตภาพของครูยุคดิจิทัลหลังจากวิกฤตการณ์โควิด 19. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(2), 321-330.

ศรีนวน คุ้มครอง. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในบริบทนวัตกรรมและเทคโนโลยี. วารสาร Bunditpatanasilpa Institute Journal, 8(1), 58-65.

สง่ามงคล เผ่าจินดา. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์เชิงรุก. วารสาร กระแสวัฒนธรรม, 21(2), 4-15.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในระดับอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อมรรัตน์ แก่นสาร และคณะ. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้จิตวิญญาณความเป็นครู ของครูสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(1), 7-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-01-2025