กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
คำสำคัญ:
การศึกษาสู่ความเป็นเลิศ , การจัดการเรียนรู้เชิงรุก , Active Learningบทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาครู และด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice: BP) วิสัยทัศน์ (Vision) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 291 โรงเรียน และการศึกษานโยบายการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์สภาพปัญหาของทุกโรงเรียน 2) การวางแผนร่วมกันของเครือข่าย 3) การสร้างเครือข่าย/การแบ่งปัน 4) การพัฒนาทีมงาน 5) การลงมือปฏิบัติ 6) การประเมินผล/การปรับปรุง 7) การสนทนากลุ่มของผู้บริหาร และ 8) การชื่นชมทุกๆ ฝ่าย โดยต้องอาศัยภาวะผู้นำและคุณธรรมของผู้บริหารในการดำเนินการทุกขั้นตอน
2. กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ด้านการพัฒนาครู ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การรับทราบนโยบาย 2) การวางแผนร่วมกันของครูและผู้อำนวยการ 3) การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน/การสร้างเครือข่าย 4) การอบรมเพื่อสร้างความเป็นผู้นำทางวิชาการและเทคนิคการสอนให้กับครู 5) การลงมือปฏิบัติ 6) การประเมินผล 7) การปรับปรุง และ
8) การรายงาน/การจัดทำ Best Practice โดยต้องอาศัยภาวะผู้นำและคุณธรรมของผู้บริหารในการดำเนินการทุกขั้นตอน และต้องให้ขวัญและกำลังใจให้ตรงกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู
3. กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การประเมินนักเรียนตามมาตรฐาน ตามตัวชี้วัด ทุกชั้น ทุกคน 2) การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล/รายชั้น 3) ประชุมร่วมกับผู้บริหาร เพื่อนครู ผู้ปกครอง และกรรมการโรงเรียน 4) สร้างนวัตกรรมการสอนที่เน้นการใช้ Active Learning ประกอบการใช้สื่อผสม 5) สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน และพันธสัญญาแห่งความสำเร็จ 6) การลงมือปฏิบัติ/การฝึกซ้ำย้ำทวน/การเสริมแรงเชิงบวก 7) การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นนาที และประเมินทุกคน และ 8) การสรุปผล การทำ Best Practice เพื่อแบ่งปันและเผยแพร่ความสำเร็จ โดยต้องอาศัยภาวะผู้นำและคุณธรรมของผู้บริหารในการดำเนินการทุกขั้นตอน
References
กชภัทร์ สงวนเครือ. (2562). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กมล รอดคล้าย (2561, 14 เมษายน). จะยกคุณภาพ..การศึกษา ต้องพัฒนา “ครู”.
เข้าถึงได้จาก https://www.kroobannok.com/84179
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. เชียงใหม่: ข่าวสารวิชาการ ประจำเดือน พฤศจิกายน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัจยา หนุนภักดี. (2559). ทักษะคนไทยในศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในการพัฒนา. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 53(1), 2-12.
บุหงา วัฒนะ. (2561). Active Learning. วารสารวิชาการ, 6(9), 30-34.
ปรียา สมพืช. (2559). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร), 11(2), 260-270.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริม.
พรชัย เจดามาน เผชิญ กิจระการ กลวัชร วังสะอาด และเบญจภัคร จงหมื่นไวย์ (2564, 31 มกราคม) การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ภายใต้พลวัตแห่งศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอย่างยั่งยืนของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.kroobannok.com/88772
ศักดา ไชยกิจภิญโญ. (2548). สอนอย่างไรให้ Active Learning. วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน, 2(2), 12-15.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 (2562). แนวทางการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning. ใน เอกสารประกอบการประชุมปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรการนิเทศเพื่อการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ด้วยการสังเกตชั้นเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : Coaching & PLC ปีการศึกษา 2562 สพป.สุรินทร์ เขต 1 (หน้า 29-31). สุรินทร์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2546). สรุปผลการประชุมวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง ศึกษาธิการ.
เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Kvam, P.H. (2000). The Effect of Active Learning Methods on Student Retention in Engineering Statistics. The American Statistician, 54(2), 136-140.
Wilke, R.R. (2003). The effect of active learning on student characteristics in a human physiology course for no majors. Advances in Physiology Education, 27(4), 207-223
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์