การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะ และเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
แบบฝึกทักษะ, การอ่านจับใจความ, เทคนิคการอ่านแบบ SQ4Rบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R จำนวน 4 ชุด ประกอบด้วย นิทาน เรื่องสั้นหรือบทความ บทเพลง และบทร้อยกรอง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การหาความตรง (IOC) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แบบทดสอบ t-test กรณีทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง ดัชนีประสิทธิผล ดัชนีประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก (r)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 86.75/88.50 2) ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้แบบฝึกทักษะและเทคนิคการอ่านแบบ SQ4R โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.47, S.D. = 0.63)
References
กานต์ธิดา แก้วกาม. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ4R กับวิธี สอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ. (2547). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : พี.เพรส.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542`). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.
ชนิดา ทินา. (2560). ผลการสอนโดยใช้วิธีการสอน SQ4R และเทคนิค CIRC สําหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ณัฐชา อักษรเดช. (2554). การสร้างแบบฝึกการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประพิณพร เย็นประเสริฐ. (2548). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้สื่อท้องถิ่นนนทบุรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
พเยาว์ สิ่งวี. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
มาซีเต๊าะ ดาโอะ. (2562). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยโดยใช้วิธีการอ่านแบบ SQ3R ร่วมกับเทคนิคผังความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัย ราชภัฏสงขลา.
วรรณี โสมประยูร. (2544). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
วราวรรณ นันสถิตย์. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยศชวิน กุลด้วง. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแต่งคําประพันธ์ประเภทกาพย์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 9(2), 130-145.
สุคนธ์ สินธพานนท์, ฟองจันทร์ สุขยิ่ง, จินตนา วีรเกียรติสุนทร และพิวัสสา นภารัตน์. (2561). หลากหลายวิธีสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุธาทิพย์ เจริญรัตน์. (2555). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความด้วยวิธีการสอนแบบ SQ3R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุนิตา ระแม. (2555). การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ SQ3R เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 ยะลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อรุณี พงษ์ไพบูลย์. (2550). การเปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยวิธีสอนแบบ SQ3R กับวิธีสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
เอกรินทร์ สี่มหาศาล. (2546). การออกแบบเครื่องมือวัดและประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ : บุ๊คส์ พอยท์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารครุศาสตร์ปัญญพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความลิขสิทธิ์