การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • วิมลรัตน์ ฉายาปิยะนันท์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • มนูญพงศ์ ชัยพันธุ์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • นาราภัทร รัตนพิรุณ นักวิชการอิสระ https://orcid.org/0000-0001-8114-5591

คำสำคัญ:

ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์, การพัฒนาเกม, เกมการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกมการศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1  2) เปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย      เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย           1) เกมการศึกษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์       และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย                    ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

           ผลการวิจัยพบว่า 1) เกมการศึกษาที่พัฒนาประกอบด้วย 5 เกม ได้แก่ เกมจัดกลุ่มรูปเรขาคณิต เกมแยกรูปเรขาคณิต เกมต่อรูปเรขาคณิต เกมสะท้อนรูปเรขาคณิต และเกมหมุนรูปเรขาคณิต ซึ่งการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษามีประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 72.27/74.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียน โดยใช้เกมการศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

กนิษฐา หลักฐาน เจษฎา เทพศร และประสิทธิ์ เขียวศรี. (2565). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : กรณีศึกษาบริบทในพื้นที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 8 (จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง). สืบค้น มีนาคม 6, 2568, จาก https://reo8.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/05/แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียน.pdf

จุฑาทิพย์ หาญกุดตุ้ม สมภารธัชธรณ์ ศิโลศรีไช และสัญญา เคณาภูมิ. (2566). การจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(5), 67–82.

นัฐพร โอภาสานนท์. (2566). การพัฒนาเกมกระดานเพื่อวัดความสามารถของความจําปฏิบัติการด้านภาษาและการได้ยิน การมองเห็นและมิติสัมพันธ์ในเด็กและวัยรุ่น. วารสารสังคมศาสตร์, 19(2), 209–235.

ปฏิณยาภัทร สำเภาทอง ศิรประภา ไพรเสนา และธิดารัตน์ จันทะหิน. (2567). การจัดกิจกรรมเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ชุด PICS ที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัย. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 24(1), 1–15.

รพีพรรณ ชูเมือง และคณะ. (2565). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันผ่านห้องเรียนออนไลน์ เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสระหลวงพิทยาคม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(3), 93–103.

อุบล ผลจันทน์ สุจรรยา สมบัติธีระ และรัตนจินต์ จิตตานุภาพ. (2566). การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3–4 ปี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(3), 1543–1550.

เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. (2559). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสร้างความรู้ใหม่โดยใช้เกมการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 14(1), 54–59.

Gardner, H. (1993). Multiple Intelligences: The Theory in Practice. New York: Harper Collins.

Gardner, H. (2011). Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences (3rd ed.). New York: Basic Books.

Gergelitsova, S. & Holan, T. (2008). Development of Spatial Abilities by Means of Didactic Computer Games. Journal Biuletyn of Polish Society for Geometry and Engineering Graphics, 18(2008), 32–38.

Lin, C. H. & Chen, C. M. (2016). Developing Spatial Visualization and Mental Rotation with a Digital Puzzle Game at Primary School Level. Computers in Human Behavior, 57(2016), 23–30.

Mangelep et al. (2023). Optimization of Visual-spatial Abilities for Primary School Teachers through Indonesian Realistic Mathematics Education Workshop. Community Development Journal, 4(4), 7289–7297.

Saroinsong, W. P., Anggraeni, N., & Putri, I. M. (2021). How Does Domino Card Help Children to Insight Numbering. The Southeast Asian Journal of Early Childhood Care Education and Parenting, 2(1), 57–70.

Ung, P., Ngowtrakul, B., Chotpradit, R. & Thavornwong, N. (2016). Spatial Ability Test for Upper-Elementary School Student: Confirmatory Factor and Normative Data Analysis. Journal of the Association of Researchers, 21(2), 48–57.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. Massachusetts: Harvard University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2025