บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตน ตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท

ผู้แต่ง

  • ศุภณัฐ นิยมธรรม คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • เฉลิมชัย หาญกล้า คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • ภูวดล จุลสุคนธ์ คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

จรรยาบรรณวิชาชีพครู, ผู้บริหารสถานศึกษา, ครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท และ 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท           ปีการศึกษา 2566 จำนวน 309 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม มีความเชื่อมั่น 0.972 วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน                                 การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดีของฟิชเชอร์

           ผลการวิจัยพบว่า

  1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
  2. ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษา ภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จีรนันท์ สุวรรณมณีเภสัช. (2552). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมจรรยาบรรณครูในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เฉลิมพันธ์ ศรีพรหม. (2560). การปฏิบัติและแนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปรีชา วุฒิเกษตรสกุล. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนประถมศึกษา เขตอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2566). ดัชนีครูไทย ปี 2565 “พลังครู คือ หัวใจของการพลิกโฉมคุณภาพการศึกษา”. สืบค้น มิถุนายน 26, 2566, จาก

https://dusitpoll.dusit.ac.th/UPLOAD_FILES/ POLL/2563/PS-2563-15790643 69.pdf.

วิภาดา วงษ์บุบผา. (2561). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ศิริลักษณ์ มีหกวงษ์. (2559). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอเมืองนครปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภมาศ วนากุล. (2556). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท พ.ศ.2566 - 2570. สืบค้น มิถุนายน 26, 2566, จาก

https://drive.google.com/file/d/13B5tp9mJZA9nlRqLu2ofDPTSDL_ddtyM/view.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้น มิถุนายน 26, 2566, จาก https://www.nesdc.go.th/ download/Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf.

อริสรา หลักเป้า. (2559). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมวินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพครูในโรงเรียนเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เครือข่ายที่ 7 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

เอมม่า อาสนจินดา, และวีนันท์กานต์ รุจิภักดิ์. (2559). จริยธรรมในวิชาชีพครู. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Yamane Taro. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2025