รูปแบบการบริหารศูนย์เรียนรู้เพื่อการค้า (Trade Learning Center: TLC) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนเป็นผู้ประกอบการ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา
คำสำคัญ:
รูปแบบ, สมรรถนะผู้เรียน, ศูนย์เรียนรู้เพื่อการค้า, ผู้ประกอบการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารศูนย์เรียนรู้เพื่อการค้า (Trade Learning Center : TLC) วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา 2) สร้างรูปแบบการบริหารศูนย์เรียนรู้เพื่อการค้า (Trade Learning Center : TLC) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนเป็นผู้ประกอบการ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา 3) ทดลอง ใช้รูปแบบการบริหารศูนย์เรียนรู้เพื่อการค้า (Trade Learning Center : TLC) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน เป็นผู้ประกอบการ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา 4) ประเมินผลรูปแบบการบริหารศูนย์เรียนรู้เพื่อการค้า (Trade Learning Center: TLC) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนเป็นผู้ประกอบการ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ตอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 110 คน ได้มาโดยวิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น สนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ รูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบรายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละคำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารศูนย์เรียนรู้เพื่อการค้า (TLC) ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง และแนวทางการบริหารศูนย์เรียนรู้เพื่อการค้า (TLC) ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายการส่งเสริมสมรรถนะ ผู้เรียน กระบวนการส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน สถานประกอบการมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียน และการติดตามและประเมินผลผู้เรียน 2) รูปแบบที่สร้างขึ้นมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ เพื่อการค้า กิจกรรมการมีส่วนร่วมของเครือข่าย การบริหารทรัพยากร การบริหารจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน และการนิเทศ ติดตามและประเมินผล 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ความพึงพอใจ ของผู้ร่วมกิจกรรมภายใต้ โครงการทดลอง ภาพรวมมีคำค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ความรู้ ความเข้าใจ ของผู้ร่วมกิจกรรมภายได้ โครงการทดลอง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมิน การใช้รูปแบบ พบว่า 4.1) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ สมรรถนะผู้เรียนตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา สรุปภาพรวมสมรรถนะผู้เรียน จำนวนผู้เรียนที่ผ่านการประเมินคิดเป็นร้อยละ 91.00 4.2) ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนหลังการพัฒนาด้วยรูปแบบ คิดเป็นร้อยละ 100 4.3) ความพึงพอใจ ของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 4.4) จำนวนความร่วมมือของสถานประกอบการ หลังการใช้รูปแบบ เพิ่มขึ้นจำนวน 10 แห่ง
References
ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2561). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) ม.ป.พ
นนท์ อนัคกุล. (2553). การนำเสนอแนวทางการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น วิทยาลัยชุมชน ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จินตนา ไทธานี. (2557). แรงจูงใจในการเข้าศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ของนักศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Cohen and Upoff. (1981), Rural development participation: Concept and measures for project design implementation and evaluation. Ithaca, NewYork: Cornell University, Center for International Studies, Rural Development Committee.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคี พ.ศ. 2563. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 191 4 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2563.
Alex Osterwalder. (2010). Business Model Generation: A Handbook for Visionaries, Game Changers, and Challengers. Wiley.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
ทิศนา แขมมณี (2560), ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดมสิน คันธภูมิ. (2558), แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สุภาภรณ์ โตโสภณ. (2563). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการตามแนวคิด การฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2563 หน้า 275-289.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564), สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
ชนัญญา สุขสมวัฒน์. (2563) แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของ [ นักเรียน : คราวด์ซอร์สซิ่ง, วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย JED, Vol. 15, No. 2, 2020. หน้า 1-14.
ประเสริฐ ลีอำนนต์กุล. (2553). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นเยาว์ ตามแนวคิด การฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางธุรกิจ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย ปีที่ 2 ฉบับที่1 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2553) หน้า 141-153.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.