การพัฒนาผลิตภัณฑ์แคบวัวพันธุ์พื้นเมืองจังหวัดยะลา
คำสำคัญ:
หนังวัว, การพองตัว, แคบวัวบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาอบที่มีผลต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์แคบวัวพันธุ์พื้นเมือง จังหวัดยะลา 2. เพื่อศึกษาคุณภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์แคบวัวพันธุ์พื้นเมืองจังหวัดยะลา 3. เพื่อศึกษา ความคิดเห็นของผู้บริโภคทั่วไป ที่มีต่อผลิตภัณฑ์แคบวัวพันธุ์พื้นเมืองจังหวัดยะลา โดยนำมาทดสอบทางประสาท สัมผัส ด้วยวิธี 9-Point Hedonic Scale ใช้ผู้ทดสอบซิมที่ไม่ผ่านการฝึกฝน จำนวน 30 คน และนำมาวิเคราะห์ผล ด้วย One-Way ANOVA เปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย Duncan's new Multiple Range Test (DMRT) ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ ที่ร้อยละ 95 ผลการวิจัย พบว่า ผู้ทดสอบให้การยอมรับแคบวัวที่ผ่านการอบในตู้อบลมร้อน เป็นระยะเวลา 12 ชั่วโมง มีคะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบรวม เท่ากับ 7.96 7.50 8.60 8.30 และ 8.60 ตามลำดับ ด้านลักษณะทางกายภาพ (อัตราการพองตัว) ของผลิตภัณฑ์แคบวัว ที่ใช้ระยะเวลา ในการอบ 12 ชั่วโมง มีอัตราการพองตัวด้านความกว้างและความหนาสูงสุดเท่ากับร้อยละ 198.01 และ 206.52 ด้านความหนาแน่นของผลิตภัณฑ์แคบวัวที่ใช้ระยะเวลาในการอบ 12 ชั่วโมง มีความหนาแนนเท่ากับ 0.16 กรัม/มิลลิลิตร คุณภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์แคบวัว พบปริมาณโปรตีนสูงที่สุดร้อยละ 69.85 รองลงมา ปริมาณไขมันร้อยละ 18.56 ส่วนค่าเพอร์ออกไซด์เท่ากับ 2.41 meq/Kg และผลการสำรวจความคิดเห็นของ ผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์แคบวัวพันธุ์พื้นเมืองจังหวัดยะลา อยู่ในระดับพึงพอใจมาก เท่ากับ 4.44
References
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2561). อุตสาหกรรมผลิตเนื้อโคแปรรูปของไทย. สืบค้น 10 ตุลาคม 2564, จาก : http://fc.nh.or.th/foodsectordatabank-al12detail.php?cat=17&type=1
กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2546), กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์, สืบค้น 10 ตุลาคม 2564, จาก https://extension.dld.go.th/th1/index.php?option=com_content&view=article&id=203:2012-03-12-07-04-00&catid
สมนึก ลิ้มเจริญ (2554), ผลของการขุนโคลูกผสมพื้นเมือง-บราห์มัน ด้วยอาหารชั้น 2 ระดับ. (ฉบับที่ 1) หน้า 88-93.
พันธิพา จันทวัฒน์, ณรงค์ นิยมวิทย์ และธเนศ แก้วกำเนิด. (2532). ผลของความชื้นการกระจายความชื้น และอุณหภูมิที่ใช้ในการทอดที่มีผลต่อคุณภาพของแคบหมู, อาหาร 19(2). หน้า 79-88.
สุรางค์ ลาเกลี่ยง, 2534. การปรับปรุงคุณภาพและกรรมวิธีการผลิตข้าวเกรียบอยุธยา, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต 2544. การวิเคราะห์กระบวนการทอดในผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยว. รายงานผลวิจัย โครงการทุนอุดหนุนวิจัยมก. คณะอุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
ธันยบูรณ์ อรัญนารถ, ปทุม อรุณวัชรินทร์, พิมพร วงษ์สุทธิโชติ, จิดาภา อาจารยะศิริ, สงวนศรี เจริญเหรียญ และรสพร เจียมจริยธรรม. (2559), การพัฒนาแคบหมูลดน้ำมันโดยการทอดด้วยเตาอบไมโครเวฟ, วารสาร วิทยาศาสตร์ มศว. 32(1): 168-177.
อรทัย บุญทะวงศ์ และคณะ (2557). การพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตแคบหมูด้วยวิธีการอบ, สืบค้น 10 ตุลาคม 2564, จาก https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.