การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นตามบริบทพหุวัฒนธรรม วิทยาลัยสารพัดช่างยะลา

ผู้แต่ง

  • ภาณุวัฒน์ บุญยะรัตน์

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้น, บริบทพหุวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นตามบริบทพหุวัฒนธรรม 2) สร้าง และตรวจสอบรูปแบบ การจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นตามบริบทพหุวัฒนธรรม 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้น ตามบริบทพหุวัฒนธรรม และ 4) ประเมินผลรูปแบบการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นตามบริบทพหุวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษาสภาพการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นตามบริบทพหุวัฒนธรรม วิทยาลัย สารพัดช่างยะลา จากการสังเคราะห์เอกสาร การจัดการศึกษาสอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมตามที่เป็น พหุวัฒนธรรม แนวทางการจัดการศึกษาเน้นทักษะทางด้านวิชาชีพที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ผู้ที่สำเร็จการศึกษามีความรู้ ทักษะ และสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข 2. การสร้างและตรวจสอบ รูปแบบการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นตามบริบทพหุวัฒนธรรม วิทยาลัยสารพัดช่างยะลา มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้น 2) การดำเนินการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้น 3) ผลสำเร็จการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้น 3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้น ตามบริบทพหุวัฒนธรรม กลุ่มผู้ให้ข้อมูล มีความเห็นว่า รูปแบบการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นตามบริบท พหุวัฒนธรรม เป็นการบูรณาการการจัดการศึกษาที่เน้นทักษะตอบสนองบริบทของพื้นที่และผู้สำเร็จการศึกษา สามารถนำไปใช้ได้จริง 4. การประเมินผลรูปแบบการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นตามบริบทพหุวัฒนธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นตามบริบทพหุวัฒนธรรม เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์และสามารถนำไปจัดการศึกษาในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2560). แผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขต พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579), สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://planning.pn.psu.ac.th

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2563), คู่มือการดำเนินงานโครงการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นฐาน สมรรถนะ (Education to Employment: E to E) ประจำปีงบประมาณ 2563. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://bsq.vec.go.th

วิทยาลัยสารพัดช่างยะลา (2563). รายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2562. (85). ยะลา.

ขวัญสุดา วงษ์แหยม, วรกาญน์ สุขสดเขียว, และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2560), การบริหารจัดการศึกษา ของสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในชุมชนพหุวัฒนธรรมของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทร์, 13 (3), 133.

พิริยะ กรุณา. (2561). การบริหารสถานศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนสองศาสนา การประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 "GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018" (น.357), มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา. ไทย. สืบค้นจากhttp://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/miniconference/article/view/1626

ฐิติกร ทองสุกใส, เอกรินทร์ สังข์ทอง, ธีร หฤทัยธนาสันติ, และคณิตา นิจจรัสกุล (2562). การศึกษาสภาพ การจัดการบริหารจัดการพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับศึกษาปฐมวัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้, วารสารวิชาการ Viridian E- journal, Slipakom University (สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 12 (4), 277.

เรื่องแสง ห้าสกุล, ชัยวิชิต เชียรชนะ, และไพโรจน์ สถิรยากร (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตร วิชาชีพระยะสั้น โดยใช้โมดูลฝึกอบรมในการจัดการเรียนการสอนสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา, วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 7 (2), บทคัดย่อ.

สิทธิชัย ทองมาก. (2560). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรม สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี, สืบค้นจาก http://backoffice.thaiedresearch.org/ uploads/paper/f95ccc4e01afef3460436b0732a94b40.pdf

สมพร ชูทอง. (2560). กลยุทธ์การจัดการอาชีวศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม วิทยาลัยการอาชีพกาญจนาภิเษกหนองจอก, วารสารการวิจัยและนวัตกรรมสถาบันการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร, 2 (2), 28.

สุมาวดี พวงจันทร์, เอกรินทร์ สังข์ทอง, ผ่องศรี วณิชย์ศุภวงศ์, และเรขา ชูสุวรรณ. (2558). การพัฒนาการ จัดการอาชีวศึกษาของเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้, วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์. 26 (2), 125.

ณัฏฐ์ขุภา สุวิชยายนต์. (2559). การจัดการศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรมของโรงเรียนชายแดนกรณีศึกษา โรงเรียนด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ. สืบค้นจาก https://km-r.arts.tu.ac.th/s/ir/item/1471

นิติ นาชิต, ชัยวิชิต เชียรชนะ, และสิริรักษ์ รัชขุศานติ (2559). ขุศานดี (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการนำรูปแบบ การประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจไปใช้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคระกรรมการการอาชีวศึกษา, วารสารวิชาการ Viridian E-journal, Slipakorn University (สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 9 (1), 625.

สมพร ชูทอง. (2560), การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยการอาชีพ กาญจนาภิเษกหนองจอก (รายงานผลการวิจัย) กรุงเทพฯ : วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2022

How to Cite

1.
บุญยะรัตน์ ภ. การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาวิชาชีพระยะสั้นตามบริบทพหุวัฒนธรรม วิทยาลัยสารพัดช่างยะลา. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 1 มิถุนายน 2022 [อ้างถึง 2 พฤษภาคม 2025];2(1):37-44. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/3214