การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยรูปแบบการเซ็งสะไนประยุกต์ สำหรับผู้สูงวัยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
คำสำคัญ:
การออกกำลังกาย, เซ็งสะไน, ผู้สูงวัย, ความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายสำหรับ ผู้สูงวัยที่มีภาวะความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงวัยเพศหญิงที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำนวน 45 คน อายุระหว่าง 60 - 79 ปี ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรม การออกกำลังกายด้วยรูปแบบการเข็งสะในประยุกต์ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรม การออกกำลังกาย ที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. โปรแกรมการออกกำลังกายเข็งสะในประยุกต์ที่พัฒนาขึ้น เป็นโปรแกรมออกกำลังกาย ประเภทแอโรบิก มีระดับความหนักอยู่ในระดับปานกลาง (50-70% ของ HRmax) แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1) ช่วงอบอุ่นร่างกาย ใช้เวลา 5 นาที มีจำนวน 4 ท่า คือ ท่าย่ำเท้า ท่าเหยียดขาด้านหน้า ท่าเหยียดแขน และท่าเหยียดขาด้านหลัง 2) ช่วงออกกำลังกาย ใช้เวลา 20 นาที ประกอบด้วย ท่าออกกำลังกาย 9 ท่า ได้แก่ ท่ารำบูชา ท่าแจวเรือ ท่าหลบหลีก ท่านางอาย ท่านางเทียม ท่าล่องเรือ ท่าเรือเทียบท่า ท่าลา (เคลื่อนที่) และท่าลา 3) ช่วงคลายอุ่น ใช้เวลา 5 นาที มีจำนวน 4 ท่า ซึ่งเป็นชุดท่าเดียวกับช่วงของการอบอุ่นร่างกาย โดยโปรแกรมฯ ที่พัฒนาขึ้นนี้มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้วิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.81 2. หลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ ในกลุ่มผู้สูงวัยเพศหญิง ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ (ฝึกวันละ 30 นาที จำนวน 3 วัน/สัปดาห์) พบว่า ผู้สูงวัย ที่เข้าร่วมโปรแกรม มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 3.39
References
ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง อลิสรา อยู่เลิศลบ สราญรัตน์ ลัทธิ. (2562), ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562. สืบค้น 8 มีนาคม 2563, จาก http://www.thaincd.com/document/hot%20news/ประเด็นสารวันความดันโลหิตสูง 62.pdf
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2560), สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นครปฐม : พริ้นเทอรี่
Lee, IM, Shiroma EJ, Loblo, F. Puska P, Blair SN and Katzmarzyk PT. (2012). Effect of physical inactivity on major non-communicable diseases worldwide: an analysis of burden of disease and life expectancy. Lancet, 380(9838), 219-229.
Pescatello LS, Franklin BA, Fagard R, Farquhar WB, Kelley GA and Ray CA. (2004). American college of sports medicine position stand. Exercise and hypertenstion. Med Sci Sports Exerc, 36(3), 533-553.
Seamus PW, et al. 2002. Effects of aerobic exercise on blood pressure: a Meta-analysis of randomized, controlled trials. Ann Intern Med, 136, 493-503.
Fagard RH. 1993. Physical fitness and blood pressure. J Hypertension, 11(suppl 5), 47-52.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ. 2561. การรำสะใน. สืบค้น 8 ตุลาคม 2561, จาก https://www. m-culture.go.th/sisaket/ewt news.php?nid=976&filename=index
เตชภณ ทองเดิม. (2555), พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ : กรณีศึกษาตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์), ศรีสะเกษ : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย, 2561. ตำบลยางชุมใหญ่ สืบค้น 8 ตุลาคม 2561, จากhttp://sisaket.kapook.com/
ชูศรี วงศ์รัตนะ (2550), เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ [ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ศิริชัย กาญจนวาสี ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับ การวิจัย กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.