การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1

Educational Institution Administration toward Excellence of Basic Education Institutions under the Jurisdiction of Surin Primary Educational Service Area Office 1

ผู้แต่ง

  • ศศิธร วงลาษี นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม อาจารย์ที่ปรึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, ความเป็นเลิศ

บทคัดย่อ

    การศึกษามีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ประชากรคือ ผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 352 คน กำหนดโดยใช้ตารางสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกน และดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเที่ยงตรงเนื้อหาเท่ากับ 1 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.977 สถิตที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีเชฟเฟ่ 

ผลการวิจัยพบว่า 

  1. ผลการวิเคราะห์การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านความสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้เรียน ชุมชน ผู้ปกครอง รองลงมาคือ ด้านความมีเหตุผล และด้านความต่อเนื่อง ชัดเจน เพื่อสู่ความเป็นเลิศ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านกระบวนการจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ
  2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน

                       2.1 ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า ด้านความสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้เรียน ชุมชน ผู้ปกครอง ด้านการนำกระบวนการ PDCA มาใช้ด้าน

    ความมีเหตุผล ด้านความเป็นไปตามองค์ประกอบและข้อกำหนดสู่ความเป็นเลิศ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนด้านความต่อเนื่อง ชัดเจน เพื่อสู่ความเป็นเลิศและด้านกระบวนการจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ ไม่แตกต่าง

                        2.2 ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน พบว่า ทุกด้านไม่แตกต่างกัน

                        2.3 ผลการเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวม พบว่า ครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความต่อเนื่อง ชัดเจน เพื่อสู่ความเป็นเลิศและด้านกระบวนการจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน

References

จงรัก จันทร์ขาว. (2561). การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ชรินรัตน์ พุ่มเกษม. (2557). สมรรถนะของคนไทยกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาศาส์น.

ปิยพันธ์ ศิริรักษ์. (2563). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

วิชาญ ไทยแท้. (2560). การบริหารงานการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุบลราชธานี.

สมปอง สมญาติ. (2557). การจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา(Constructionism) ของสถานศึกษา. วารสารการศึกษา, 11(113).

สุภสิทธิ์ ภูภักดี. (2558). เลขาธิการสภาการศึกษาย้ำคุณภาพการศึกษาของเด็กขึ้นกับครูผู้สอน. วารสารการศึกษา, 2(120).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29