การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปทุมธานี “นันทมุนีบำรุง”

The Development Self-Learning Set on “ Structure and Function of Cells “ in Science Learning Substance Group for Matthayom suksa 1 in Pathumthani Nunthamuneebumrung School

ผู้แต่ง

  • แวเนาะ เปาะจิ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • นีรนาท จุลเนียม

คำสำคัญ:

ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง, โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์, กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปทุมธานี “นันทมุนีบำรุง” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 53 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) แบบประเมินความเหมาะสมของชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้ ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองใช้เกณฑ์หาประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 80/80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า 

  1. ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.36/80.79 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรมวิชาการ. (2554). การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

กิ่งฟ้า สินธุวงษ์. (2553). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา).

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนา ประสานตรี. (2556). การสอนโดยเพื่อนช่วยเพื่อน. สารพัฒนาหลักสูตร, (114) : 20-22.

ยุพดี กะจะวงษ์. (2555). กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วารสารการวิจัยทางการศึกษา, 245(4) : 22-23

สมปอง พรหมพื้น. (2556). การพัฒนาความสามารถทางการเรียนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยเน้นการใช้ประสบการณ์ภาษาและร่วมมือกันเรียนรู้ ของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุทัย เพชรช่วย. (2551). การสอนโดยการจัดกลุ่มให้มีผู้นำในการเรียน. วารสารประชาศึกษา, 38(4) : 20-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29