การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่องโรงเรียนและชุมชนของท้องถิ่นเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตาอุด อำเภอขุขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3

The Practical Exercises Development on School and Our local community in Social studies Religion and culture subjects for Prathomsuksa 3 students of Ban Ta-Ud school, Khukhan district, Sisaket Primary Education Service Area Office 3

ผู้แต่ง

  • สากิยา ศิริวงษ์ ครู โรงเรียนบ้านตาอุด

คำสำคัญ:

แบบฝึกทักษะ, โรงเรียนและชุมชนของท้องถิ่นเรา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่องโรงเรียนและชุมชนของท้องถิ่นเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตาอุด อำเภอขุขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3 ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่องโรงเรียนและชุมชนของท้องถิ่นเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตาอุด อำเภอ       ขุขันธ์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องโรงเรียนและชุมชนของท้องถิ่นเรา จำนวน 12 แผน  2) แบบฝึกทักษะ เรื่องโรงเรียนและชุมชนของท้องถิ่นเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม      ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่องโรงเรียนและชุมชนของท้องถิ่นเรา ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านตาอุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านตาอุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำนวนนักเรียน 26 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการจับฉลากห้องเรียนด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน (t-test independent)

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. แบบฝึกทักษะ เรื่องโรงเรียนและชุมชนของท้องถิ่นเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตาอุด อำเภอขุขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 มีประสิทธิภาพ 85.26/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องโรงเรียนและชุมชนของท้องถิ่นเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตาอุด อำเภอขุขันธ์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)

กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (ม.ป.ป.). การประเมินผลจากสภาพจริง. (เอกสารวิชาการ) กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). รายงานการสังเคราะห์รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูต้นแบบ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : บริษัทแคนดิดมีเดีย จำกัด.

ทิพย์สิริ กาญจนวาสี. (2564). วิธีวิทยาการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์ทันใจ.

พิสณุ ฟองศรี. (2552). วิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : บริษัท ด้านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

พระวิทูล สาสีมา. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกการคิดวิเคราะห์ เรื่องหลักธรรมนำความสุข กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ลาวัณย์ วิทยาวุฑฒิกุล. (2555). ชุดฝึกอบรมสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (ม.ป.ป.). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

How to Cite

ศิริวงษ์ ส. (2022). การพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่องโรงเรียนและชุมชนของท้องถิ่นเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านตาอุด อำเภอขุขันธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3: The Practical Exercises Development on School and Our local community in Social studies Religion and culture subjects for Prathomsuksa 3 students of Ban Ta-Ud school, Khukhan district, Sisaket Primary Education Service Area Office 3. วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา, 1(2), 143. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunmcj/article/view/1350