การพัฒนาชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Development of an E-Learning Teacher Training Package on Research for Learning Development of Science Teachers at the Fundamental Education

ผู้แต่ง

  • ระเบียบ สิทธิชัย อาจารย์ ดร. สาขาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • อรุณี สาลี อาจารย์ สาขาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • สมยศ สุโพธิ์ภาคสกุล อาจารย์ สาขาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

ชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่ง, การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้, วิทยาศาสตร์, ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการประเมินชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่งของผู้ทรงคุณวุฒิ 2) ทดสอบประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่ง เรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ศึกษาความสามารถของครูในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 4) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการฝึกอบรมทางอีเลิร์นนิ่งโดยการผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัย จำนวน 3 คน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดน่าน จำนวน 286คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินชุดฝึกอบรม 2) แบบสอบถามครูวิทยาศาสตร์ชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรม 4) แบบประเมินงานวิจัยของครู 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อการฝึกอบรมทางอีเลิร์นนิ่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผลการประเมินชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่ง ของผู้ทรงคุณวุฒิในด้านโครงสร้างชุดฝึกอบรมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ด้านกิจกรรมฝึกอบรม อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
          2. ชุดฝึกอบรมครูทางอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 78.99/80.98 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
          3. ครูมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วัดจากผลการทดสอบหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูสามารถน าความรู้จากการอบรมไปใช้ปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้อยู่ในระดับดี
          4. ครูมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมทางอีเลิร์นนิ่งอยู่ในระดับมาก

References

จรัสศรี รัตตะมาน (2551) การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เฉลิมชัย จารุลักษณ์ (2549) การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเรื่องวิธีการวิจัยระดับพื้นฐาน หลักสูตรฝึกอบรมนักวิจัยของกระทรวงกลาโหม.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ (2520) ระบบสื่อการสอน กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดารณี คำแหงและคณะ (2547) การพัฒนาซอร์ฟแวร์ออนไลน์ส าหรับฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการวิจัย.รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลนนทบุรี

ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2545) Designing e-Learning หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร อรุณการพิมพ์

ธนัท อาจสีนาค (2548) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบ e-learning กับการสอนปกติวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (หลักสูตรสถาบันราชภัฎ พ.ศ.2542). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

บุญชม ศรีสะอาด (2535) การวิจัยเบื้องต้น กรุงเทพมหานคร สุวีริยาสาส์น

พัชรินทร์ จันทร์นาง (2549) การพัฒนาสื่อการสอนด้วย Macromedia Captivate ฝ่ายอบรมสัมมนาสถาบันสยามคอมพิวเตอร์และภาษา

พรรณพิมล เพียรรุ่งโรจน์ (2547) การนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วรนุช เนตรพิศาลวนิช (2544) การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บด้วยการเรียนแบบร่วมมือแบบกรณีศึกษาเพื่อการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับวิชาชีพพยาบาล.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์ (2546) e-Learning[OnLine].Available:http://www.thaicai.com/articles/cai4.html.

สุพัตรา ศรีสุวรรณ (2545) การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมวิชาชีพแบบสองทาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

สมศรี เพชรโชติ (2550) การพัฒนากระบวนการฝึกอบรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้านวิชาชีพคหกรรมศาสตร์. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Aljadaani,H.A. (2000) A comparison of web based and conventional based training Methods in a leading Midwestern company. Retrieved April 19,2006 from http://www/ib.urni.com/Dissertation/preview/AAT9992041.

Gulsun Kuruback. (2000). Online Learning: A study of students attitudes towards webbasedinstruction (WBI). Ed.D.University of Cincinnati (online) Available :http:// www.lib.umi.com/disertations/fullcit/9973125

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29