ภาวะผู้นำของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1

Leadership for School Administrators of Jaturamitr School Group under Tak Primary Educational Service Area Office 1

ผู้แต่ง

  • นลธวัช ยุทธวงศ อาจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • วีระพรรณ จันทร์เหลือง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ผู้บริหาร, กลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 และ 2) หาแนวทางภาวะผู้นำของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 ใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 123 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 19 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
          1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการเข้าสังคม อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการประสานงาน อยู่ในระดับมาก ด้านการรู้จักปรับปรุงแก้ไข อยู่ในระดับมาก ด้านการให้ความช่วยเหลือ อยู่ในระดับมาก ด้านการโน้มน้าวจิตใจ อยู่ในระดับมาก ด้านการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยลำดับสุดท้ายคือ ด้านการยอมรับนับถือ อยู่ในระดับมาก
          2) แนวทางภาวะผู้นำของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 สรุปได้ ดังนี้ 2.1) ด้านการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผู้บริหารต้องกล้าคิดนอกกรอบ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมเสนอแนวคิดและนำไปสู่การปฏิบัติงาน 2.2) ด้านการรู้จักปรับปรุงแก้ไข ผู้บริหารต้องมีการทบทวนการปฏิบัติงาน เพื่อการปรับปรุงแก้ไขวิธีการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น 2.3) ด้านการยอมรับนับถือ ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ให้เกียรติ ยกย่อง ชมเชย และยินดีรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงานทุกคน 2.4) ด้านการให้ความช่วยเหลือ ผู้บริหารต้องมีความจริงใจ ดูแลเอาใจใส่ ช่วยแก้ปัญหา และคอยสนับสนุนให้กำลังใจ 2.5) ด้านการโน้มน้าวจิตใจผู้บริหารต้องให้เกียรติเป็นกันเองใช้คำพูดสุภาพโน้มน้าวให้กำลังใจผู้ร่วมงานทุกคน 2.6) ด้านการประสานงาน ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายเข้าร่วมทำงาน มีการสื่อสารที่ชัดเจนเข้าใจตรงกันเพื่อเป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน และ 2.7) ด้านการเข้าสังคม ผู้บริหารต้องปฏิบัติตนเป็น
แบบอย่างที่ดีมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละเป็นมิตรกับทุกคน และมสติควบคุมอารมณ์และปรับตัวทำงานอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่2 พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราชฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก ตราไว้ ณ วันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2560 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : ส านักการพิมพ์ ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราชฎร.

ชูยศ ศรีวรขันธ์. (2553). ปัจจัยแรงจูงใจต่อผลการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค สาขาวิศวกรรมโยธา ส านักวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ซอฟี ราเซะ. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอทุ่งยางแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ณภัทร เรืองบุญส่ง. (2551). ภาวะผู้น าของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีรศักดิ์ เจิมมงคล. (2550). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองสระแก้ว สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. งานนิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2534). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.

_______. (2551). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : เทียมฟ้า.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). ฉบับปรับปรุงใหม่ กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

พิมพรรณ สุริโย. (2552). ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 9 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2555). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอ าเภอ สังกัดส านักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

ภรณ์ทิพย์ ปั้นก้อง. (2559). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

มาลิสา โพธิสัตย์. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. งานนิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิพากย์ โรจนแพทย์. (2534). ทรรศนะของครูที่มีต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในจังหวัดเพชรบูรณ์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การบริหารการศึกษา). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร. ถ่ายเอกสาร.

วีระพรรณ จันทร์เหลือง. (2558). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สมบัติ อ่ำสาริกา. (2545). ศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษาตามความคิดเห็นจากครู-อาจารย์และเจ้าหน้าที่ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา. ถ่ายเอกสาร.

สุมาพร ทำทอง. (2554). ภาวะผู้น าของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูผู้สอนโรงเรียนในกลุ่มวิภาวดี สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สุวิมล โตปิ่นใจ. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มบางบ่อ 2 อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. งานนิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. [ออนไลน์]. (2564, 18 ,b56okpo). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน. เข้าถึงได้จาก http://www.takesa1.go.th/main56/note/htm/jaturamit/jaturamit.htm

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2559. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2549). มาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณา เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 2 (พ.ศ. 2549-2553). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุดทอง.

อมรินทร์ ซ าสุรีย์. (2555). พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

Griffiths, Daniel E. (1956). Human Relationship in School Administrators. New York : Appleton Century-Crofts.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29