การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครราชสีมา

School-Based Management of schools in Nakhon Ratchasima Secondary Education Service Area

ผู้แต่ง

  • วรวัฒน์ ใยระย้า นักศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วิวัฒน์ ตู้จำนงค์ อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การบริหารโรงเรียน, โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน

บทคัดย่อ

          การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาระดับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน และ 2) เปรียบเทียบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครราชสีมา ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ครูโรงเรียนใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครราชสีมา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 4,338 คน นำมาคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 221 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างโดยทดสอบที 

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล รองลงไป คือ ด้านการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการบริหารตนเอง 
  2. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน พบว่า ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครราชสีมา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). เอกสารประกอบการพัฒนา หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ สำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม : พิมพ์โดยสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

คเชนทร์ กลางโคตร์. (2555). สภาพและปัญหาการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ณรงค์ โภคสวัสดิ์. (2555). สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ ครั้งที่ 8. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วัชรพล สุดสายเนตร. (2556). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ไวยวุฒิ กุพันลำ. (2556). สภาพการบริหารที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 3.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏหนองคาย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29