เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
ประสิทธิผลของเอกสารประกอบการสอน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ, สุขศึกษาและพลศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลการใช้เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดตะวันเรื่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ E1/E2
ผลการวิจัยพบว่า
- เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
- ผลการใช้เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
- นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา เรื่อง ฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562. ออนไลน์ สืบค้นจาก http://regu.tu.ac.th/quesdata/Data/L32.PDF เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2565.
กิ่งฟ้า สินธุวงษ์. (2555). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). การศึกษาทางไกลกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. ใน ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 12. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุริวิยาสนาส์น.
ยุภาพร สุนทะโรจน์. (2552). การพัฒนาบทเรียนสําเร็จรูปประกอบภาพการ์ตูน เรื่องจังหวัดของเรา กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 4.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2540). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วีระ ตันตระกูล. (2553). บันไดสู่ความก้าวหน้าทางข้าราชการครู. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
วิชัย ตันศิริ. (2549). การศึกษากับการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: วี.ซี.ที. คอมมิวนิเคชั่น.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2549). การบริหารหลักการทฤษฎีและประเด็นทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.
สิปปนนท์ เกตุทัต. (2551). โลกยุคไร้พรมแดนในกระแสโลกาภิวัตน์ . กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2551). การปฏิรูปการศึกษาในภาวะยุคการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : คุรุสภา ลาดพร้าว.
สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.