การบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามการรับรู้ของครูในศูนย์เครือข่ายที่ 10 ชุมพวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7

ผู้แต่ง

  • อภิเชษฐ์ ทาพิลา
  • วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, ครูในศูนย์เครือข่ายที่ 10 ชุมพวง

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามการรับรู้ของครูในศูนย์เครือข่ายที่ 10  ชุมพวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามการรับรู้ของครูในศูนย์เครือข่ายที่ 10 ชุมพวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จำแนกตามตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในศูนย์เครือข่ายที่ 10  ชุมพวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จำนวน 159 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเอฟ (F-test)

       ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามการรับรู้ของครูในศูนย์เครือข่ายที่ 10 ชุมพวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
  2. ครูที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามการรับรู้ของครูในศูนย์เครือข่ายที่ 10 ชุมพวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
  3. ครูที่อยู่ขนาดของโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามการรับรู้ของครูในศูนย์เครือข่ายที่ 10 ชุมพวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต พ.ศ. 2561. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จุทามาส โกมลมรรค. (2556). การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองอ่างทอง. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นูรมาน พิทักษ์สุขสันต์. (2564). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสายบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). “ห่วง!! พฤติกรรม "บูลลี" เด็กไทยติดอันดับ 2 ของโลก เกือบครึ่งคิดตอบโต้เอาคืน”. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565. จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30148.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. (2564). แผนพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ปีงบประมาณ 2564. นครราชสีมา : กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2564 - 2565) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุภัชชา เอียดมุสิก. (2565). “การส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2” การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ, 13 : 2185-2200.

อรรถพันธ์ แย้มแสง. (2564). “แนวทางการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1” วารสารวิจัยวิชาการ, 5(2) : 143-156.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30