แนวทางการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ) กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
แนวทางการจัดการ, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ) กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาแนวทางการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ) กรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู คณะกรรมการสถานศึกษาการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง รวมทั้งสิ้น 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามระดับการจัดการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) แบบสัมภาษณ์แนวทางการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- การจัดการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้าง การเรียนรู้ทางวิชาชีพ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการกระจายความเป็นผู้นำทางวิชาชีพ และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดโครงสร้างและระบบการทำงาน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รองลงมาคือ ด้านการกำหนดตารางเวลาว่าง เพื่อการปรึกษาหารือการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และด้านการแสวงหาการสนับสนุนจากเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตามลำดับ
- แนวทางส่งเสริมการจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพคือ ควรให้ผู้ปกครองได้เข้ามาร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหาจากการเป็นวิทยากร การรวมกลุ่มทำงานร่วมกันจากภาคีเครือข่ายทุกฝ่าย รวมถึง ควรมีช่องทางเชิงรุกผ่านระบบออนไลน์ในการรับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับปัญหาของนักเรียนคือ การจัดประชุมผู้ปกครองในแต่ละห้องเรียนและการจัดให้มีช่องทางสื่อสารสองทางระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
References
ทองพรรณ ปัญญาอุดมกุล. (2563). “แนวทางการพัฒนาการใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านนาอ้อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2”. คุรุสภาวิทยาจารย์. 1(1) 45-55.
นริศ ภูอาราม. (2560). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. (2558). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเซตเบญจบูรพา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ). (2563). รายงานผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ).
_____. (2564). รายงานผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ).
_____. (2564). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาปีการศึกษา 2564. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ).
_____. (2565). ข้อมูลโรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ) ปีการศึกษา 2565. กรุงเทพมหานคร : โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ).
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564-2569). กรุงเทพมหานคร : สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร.
อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2558). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Hord, S. M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Continuous Inquiry and Improvement. Texas: Southwest Educational Development Laboratory (SEDL).
Sergiovanni, T. (2009). Building community in schools. CA: Jossey Bass.
Stoll L., et al. (2007). “Professional Learning Communities”. Journal of Education Change. 7(1). 221-258.
Wells, C. and L. Feun. (2007). “Implementation of Learning Community Principles: A Study of Six High Schools”. National Association of Secondary School Principals NASSP Bulletin. 91(2). 141-151.
Wenger, et al. (2004). Knowledge Management as a Doughnut: Shaping Your Knowledge Strategy Through Communities of Practice. Ivey Business Journal. 68(3). 1-8.
Wood D. (2007). “Professional Learning Communities: Teachers, Knowledge, and Knowing”. Theory into Practice. 46(4), 281-200.