การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตพัฒนาการศึกษากระสัง กลุ่มเครือข่ายกระสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

ผู้แต่ง

  • จันทร์เพ็ญ มีชัยรัมย์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การบริหาร, งานวิชาการ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตพัฒนาการศึกษากระสัง กลุ่มเครือข่ายกระสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2  2) เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตพัฒนาการศึกษากระสัง  กลุ่มเครือข่ายกระสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตามระดับการศึกษา 3) เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตพัฒนาการศึกษากระสัง  กลุ่มเครือข่ายกระสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน ในเขตพัฒนาการศึกษากระสัง กลุ่มเครือข่ายกระสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์   เขต 2 ที่ทำหน้าที่ปฏิบัติการสอนในปีการศึกษา 2565 จำนวน 97 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) และใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตพัฒนาการศึกษากระสัง กลุ่มเครือข่ายกระสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยภาพรวมมีการบริหารวิชาการอยู่ในระดับมาก
  2. ครูผู้สอนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตพัฒนาการศึกษากระสัง กลุ่มเครือข่ายกระสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
  3.  ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตพัฒนาการศึกษากระสัง กลุ่มเครือข่ายกระสัง 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชนิสรา ชุมวงศ์. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนวัฒน์ เขียวหวาน, 2559) การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเครือข่ายที่ 29 กรณีศึกษาโรงเรียนขนาดใหญ่สำนักงานเขตหลักสี่ สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย รามคำแหง.

ธีระพงษ์ สืบโสดา. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเบญจมราชูทิศจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธวัชชัย ภูวสิษฐ์พงศา. (2564). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). การค้นคว้า อิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

_______. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ยุพา พรมแย้ม. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปี 2563. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : https://www.br2.go.th/main/. [2563, 25 ตุลาคม]

ศิวพร ละหารเพชร. (2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความคิดเห็นของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing(5th ed.). New York : Harper Collins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31