การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังกวางหลักด่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2
คำสำคัญ:
การบริหาร, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังกวางหลักด่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 2)เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังกวางหลักด่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียน ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังกวางหลักด่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จำนวน76 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.982 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังกวางหลักด่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยตามลำดับดังนี้ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา และด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรม - เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาวังกวางหลักด่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 ซึ่งจำแนกตามประสบการณ์ทำงาน พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 โดยมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของบุคลากรที่มีประสบการณ์ทำงาน 5 ปีขึ้นไป มากกว่าบุคลากรที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 5 ปี แต่ส่วนด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ผลการดำเนินงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
_______. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. ได้จาก https://www.moe. go.th/ 360policy-and-focus-moe-2023/. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565
_______. (2565). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. ได้จาก https://www.moe. go.th/ 360policy-and-focus-moe-2023/. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565
เฉลิม ธนาวุมิกูล. (2565). สภาพการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในอำเภอแม่อาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.
ชัยวัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์. (2564). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน โรงเรียนกลุ่มกรุงเทพกลาง สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ชารดา จิตต์อำมาตย์. (2560). การประเมินโครงการสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนเหล่าฝ้ายผดุงวิทย์ จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญารุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นพรัตน์ คำสุทธี. (2562). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารสถานศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นาขวัญ พรมดอนกลอย. (2561). การศึกษาการดำเนินงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเครือข่ายที่ 43 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร. นิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2565). การขับเคลื่อนด้านการศึกษา. ได้จาก http://www. sufficiency.nida.ac.th/eduplan/. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อุปสรา สิทธิพงษ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination of sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), pp. 607-610.