การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา บัวลาย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6
Academic administration in educational institutions Bualai Educational Quality Development Network Center 2, under the Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 6
คำสำคัญ:
การบริหาร, งานวิชาการ, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาบัวลาย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานคราชสีมา เขต 6 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารวิชาการของสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาบัวลาย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานคราชสีมา เขต 6 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู ศูนย์เครือข่ายคุณภาพการศึกษาบัวลาย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานคราชสีมา เขต 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 50 คนกำหนดขนาดกุล่มตัวอย่างใช้ตารางเครซี่และมอร์แกนและใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาบัวลาย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
- ผลการเปรียบเทียบครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาบัวลาย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 แตกต่างกัน คือ ด้าน การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน ด้านนวัตกรรมทางการศึกษา และด้านการนิเทศการศึกษา ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประสบการณ์ทำงาน ครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา คุณภาพการศึกษาบัวลาย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ไม่แตกต่างกัน
References
ไกรศร เจียมทอง. (2561), ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.
ฉัตรศิริ ปียะพิมถสิทธิ์. (2548). ทฤษฎีการวัดและการทดสอบ. สงขลา: ภาควิชาการประเมินผลและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
โชคชัย นาไชย. (2559) ทักษะการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
แพรคาว สนองผัน. (2557) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภารดี อนันตนาวี. (2552). หลักการแนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา .ชลบุรี : บริษัท. สำนักพิมพ์มนตรี จำกัด.
วิเชียร วิทยอุดม. (2555). หลักการตลาด (PRINCIPLES OF MARKETING). นนทบุรี: คณะบุคคลวิทยอุดมสาส์น.
ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1. การค้นคว้าอิสระครุ ศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สุภาพร บุญมาก. (2552). ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับมาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination of sample size for research activities.Education and Psychology Measurement, 30(3), pp. 607-610.