แนวทางการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนรวมในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 : กรณีศึกษาโรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา

ผู้แต่ง

  • ศิริมงคล ทนทอง

คำสำคัญ:

แนวทางการบริหาร, การศึกษาแบบเรียนรวม, โรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา กลุ่มเป้าหมายคือ คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอนโรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา ผู้ปกครองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ รวมทั้งสิ้น 40 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า

  1. 1. สภาพการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าความคิดเห็นอยู่ในระดับมากมี 2 ด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการบริหารการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ด้านที่มีค่าความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง มี 1 ด้านคือ ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านที่มีค่าความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยมี 2 ด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปน้อยคือ ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และด้านการช่วยเหลือและบริการทางการศึกษา

2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านคุณภาพผู้เรียนคือ จัดทำแผนการการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เสริมสร้างความรู้ในด้านการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบคุคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) 2) ด้านการจัดการเรียนการสอนคือ การอบรมเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ การอบรมการคัดกรองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ การจัดทำคู่มือการจัดการเรียนการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จัดสื่อและเทคโนโลยี กำกับติดตาม วัดผลและประเมินผล และทำการศึกษารายกรณีเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 3) ด้านการบริหารจัดการเรียนรวมคือ จัดอบรมเพื่อพัฒนาครูด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรวม สร้างความตระหนักให้ครูเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้      4) ด้านการช่วยเหลือและบริการทางการศึกษาคือ การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดหาสื่อเทคโนโลยี การจัดสภาพแวดล้อม การจัดหาสื่อและเทคโนโลยีด้านการเรียนการสอน และ 5) ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองคือ การให้ความรู้ผู้ปกครอง การจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้าน การเสริมสร้างกำลังใจ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). รายงานสภาพการจัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กและเยาวชนพิการในโรงเรียนปกติ

ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สมชายการพิมพ์.

_______. (2556). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

กองทุนรัฐวัฒน์ตันมณีเพื่อสิทธิคนออทิสติก. (2556). การเคลื่อนไหวลักดันรัฐ/สังคมทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่.

(ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.autistic thailand.com/aucontent/ mainmenu2007.htm (2566, 8 ตุลาคม).

ชมบุญ แย้มนำ. (2560). การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนการจัดการเรียนร่วมระดับ

ประถมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2532). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพื้นฐานของการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

บุษบา ตาไว. (2550). สภาพปัญหาและแนวทางในการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างชีทของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมจังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม).

ผดุง อารยะวิญญู. (2542). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : พีเออาร์ดแอนด์ ปริ้นติ้ง.

เผียน วงศ์ทองดี. (2554). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนวัดลาดศรัทธาราม (สำนักงานสลากกินแบ่งสงเคราะห์ 128) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว. (2553). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียนเรียนร่วมจังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มลิวัลย์ ธรรมแสง. (2557). ความเข้าใจเรื่องการเรียนรวม. (ออนไลน์). สืบค้นจาก :https://www.deafthai.org/wp- content/uploads/ (2566, 8 ตุลาคม).

โรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา. (2566). รายงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนาปีการศึกษา 2565. นครราชสีมา : กลุ่มงานวิชาการ โรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา.

วินัย หนูรัตน์. (2552). ศึกษาความคิดเห็นของข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมเด็กพิเศษกับเด็กปกติ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิมล จันทราศรี. (2553). แนวทางการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สุนิสา สกุลเกื้อกุล และคณะ. (2563, สิงหาคม). รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับสถานศึกษาในจังหวัดน่าน.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช. 7(8) 363-380.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). นโยบายและจุดเน้นและจุดเน้นของสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ 2567-2568. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

อรทัย แสนชัย. (2559). การจัดการการเรียนรวมของโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(2) : 251-260.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31