รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของ จังหวัดนครราชสีมา รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 อ31205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของ จังหวัดนครราชสีมา รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 อ31205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • อุทัยวรรณ นาชิน -

คำสำคัญ:

แบบฝึกทักษะ, การอ่านเพื่อความเข้าใจ, วิชาภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

          การรายงานครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพจากการพัฒนาแบบฝึกทักษะ การอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลจากการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน เพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบฝึก ทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการรายงานในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จํานวนนักเรียน 47 คน ที่กําลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2561 โรงเรียนบุญวัฒนา           อําเภอเมือง จังหวัด นครราชสีมา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 เครื่องมือที่ใช้ในการรายงาน ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของ จังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จํานวน 8 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จํานวน 17 แผน 3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จํานวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.43 - 0.77 ค่าอํานาจจําแนกอยู่ระหว่าง 0.22 - 0.66 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 4)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มี ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่น ด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษ เสริมทักษะ 2 อ31205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จํานวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) ผลปรากฏ ดังนี้

  1. แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัด นครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.50/80.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80
  2. แบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัด นครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.62 หรือคิดเป็นร้อยละ 62.00 นั่นคือ นักเรียนที่ เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัด นครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.00
  3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้ เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลัง เรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้ เนื้อหาในท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมา ชุด Welcome to Nakhon Ratchasima รายวิชาภาษาอังกฤษเสริมทักษะ 2 831205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด

 

References

กมลวรรณ อีกธิกรชัย. (2556). เสริมอัจฉริยะการอ่านให้กับสมอง. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แพรธรรม.

กาญจนา ปราบพล. (2531). การทดสอบและการประเมินผลสำหรับครูผู้สอนภาษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

เกศกนก ณ พัทลุง. (2550). การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษ เรื่องการจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6. นครศรีธรรมราช : โรงเรียนสตรีปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช.

ขวัญเมือง พันธ์มะแพทย์. (2553). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บทเรียนการ์ตูน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตร และการสอน บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2537). เอกสารเสริมความรู้สำหรับครูผู้สอนภาษาไทยแบบมุ่ง ประสบการณ์ภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

เครือวัลย์ จตุพรพูนทรัพย์. (2547). การพัฒนาสื่อเสริมการอ่าน - เขียน ภาษาอังกฤษ เรื่อง ท้องถิ่นนครปฐมสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จรัส ลิ่มหัน. (2540). การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนกรมสามัญในจังหวัดภูเก็ต. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

จรัส ภูปาน. (2533). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยบทเรียนที่เน้นเนื้อหาบริบทท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2556). การผลิตและการใช้สื่ออย่างเป็นระบบ เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สํานักพิมพ์ : ศูนย์หนังสือจุฬา.

ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์. (2542). การเลือกใช้สื่อการสอน. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฉัตรสุดา ดวงพลอย. (2526). “แนวความคิดภาษาศาสตร์เชิงจิตวิทยา (Phycholinguistics) และจิตวิทยาการเรียนรู้ (Cognitive Psychology) และการอ่านภาษาอังกฤษ, ภาษาปริทัศน์, 4(1) : 14-1.

ชวลิต ชูกําแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม : สํานักพิมพ์มหาสารคาม.

ชัพวิชญ์ คําภิรมย์. (2544). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ศรีวิโรจน์ฟาร์ม จํากัด. รายงานการศึกษา ค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชาลิสา มากแผ่นทอง. (2559). การวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2544). หลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.

ฐิติกาญจน์ จันทรสมบัติ. (2549). การพัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัด มหาสารคาม สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. โรงเรียนมหาวิชานุกูล มหาสารคาม : โรงเรียน มหาวิชานุกูล.

ณัฐชยา เอื้อมอุ่น. (2544). ความพึงพอใจต่อการใช้บริการห้องสมุดประชาชนของนักศึกษานอกโรงเรียน โรงเรียนสายสามัญ วิธีการเรียนทางไกล ศูนย์บริการศึกษานอกโรงเรียน อําเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี, วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

ดารณี ซาจิตตะ. (2556). การสร้างบทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่น สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเกาะแต้วพิทยาสรรค์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ถวัลย์ มาศจรัส และคณะ.(2556). นวัตกรรมการศึกษา ชุด 4 มิติการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4), กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ธารอักษร.

ทวีป อภิสิทธิ์. (2555). สอนเป็น สอนดี สอนเก่ง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทองพูล บุญถึง. (2545). “ผลงานทางวิชาการประเภทแผนการสอน” ข้าราชการครู, 3(12) : 3-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30