แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, โรงเรียนรวมมิตรวิทยาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน ประชากร คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 110 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง 86 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
- แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
- ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน
- ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
References
โชติกา ระโส. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฐานะรัตน์ จีนรัตน์. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นิติพล ภูตะ โชติ. (2556). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: วี พริ้นท์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ :. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสัน.
พรรณทิวา ประเสริฐ ไทย. (2558). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรียาพร วงศ์อนุตร โร จน์. (2535). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.
พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนยุค Thailand 4.0. วารสารคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2), 2376-2377.
มนัสนันท์ มีทรัพย์ทอง. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดวิทยาลัยเทคนิคในภาคตะวันออก.วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี. รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา, 2564)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2557และแนวโน้มปี 2557. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.m- society.go.th /ewtadmin /ewt/mso_web/ewt_news.php?nid=12225.
สุนิดา วงศ์ชารี. (2559). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูศูนย์วิชาการวังโบสถ์-บ่อไทยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. งานนิพนธ์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Herzberg, F, Mausner, B.. & Snyderman, B. B. (1993). The motivation to work. New Brunswick:Transaction Publishers.
Krejcic, R.V., & D.W. Morgan. (1970). "Determining Sample Size for Research Activities" .Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 - 610.