การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา

การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุเมธ รื่นระเริงศักดิ์ -
  • กฤษฎา วัฒนศักดิ์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การบริหารงานวิชาการ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน ประชากร คือ ครูในโรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 90 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง 73 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา อยู่ระหว่าง    0.67–1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ ด้านหลักสูตรและการนำไปใช้ รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติงานน้อยที่สุด คือ ด้านสื่อการเรียนการสอน
  2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษาของครูที่ต่างกัน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน
  3. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของครูที่ต่างกัน พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา.

_______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา.กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือ แบบมาตราส่วนประมาณคำกับกลุ่มตัวอย่าง, วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.

วีระศักดิ์ วงศ์อินทร์. (2557). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(การบริหารการศึกษา). จันทบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

ศมนภร นาควารี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูกับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา เขต 31. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้พิมพ์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). ข้อมูลการศึกษาแห่งชาติ ปีการศึกษา 2539-2541. (ออนไลน์). ค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2565, จากhttp://library.christian.ac.th/opac/showsearch_ bk.php?pointer=T010957

สุทธิรา เกษมราษฎร์. (2559). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2550). รายงานผลการดำเนินงานโครงการนำร่องระดับชาติ เรื่องการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนนำร่อง : รูปแบบที่คัดสรร. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

อนันตชัย อุทัยพัฒนาชีพ. (2544). การประเมินโกรงการพัฒนาทักษะกาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร และการท่องเที่ยวโดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วมโรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล. (ออนไลน์). ค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2565, จาก htp:/www.school.obec.go.th

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination of sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), pp. 607-610

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30