การมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปกรณ์ รองศักดิ์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • องอาจ เทียมกลาง วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การบริหารสถานศึกษา, ครูและบุคลากร, โรงเรียนประทาย

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา และ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน และครูผู้สอน จำนวน 163 คน โดยเลือกสุ่มแบบแบ่งชั้นรวมทั้งสิ้น จำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที

         ผลการวิจัยพบว่า

  1. การมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก
  2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตาม ตำแหน่งการศึกษา โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้าน การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

_______. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545.

แก้วภัทรา จิตรอักษร. (2565). เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ธิติสรณ์ ณ แฉล้ม. (2561). การมีส่วนร่วมของศิษย์เก่าในการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านบางมัน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ประภาพรรณ รักเลี้ยง. (2556). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

พระมหาสุชาติ ธัมฺมกาโม. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 13. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 7(2),173–186.

พิมพ์พิชมญชุ์ สุภายอง. (2563). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของผู้ปกครอง นักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

วรรนิกา อภัยภักดิ์. (2561). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(2),1–22.

ศิวพงษ์ แสงนอก. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 9(1), 1-12.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายของการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สมชัย วงษ์นายะ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ.

สมยศ นาวีการ. (2555). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ 1991.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2551). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนีเคชั่น.

อรอนงค์ แจ่มจำรัส. (2565). แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(3), 205.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.

Dendero, G. M. (1994). School-based decision making on student achievement as academic skills (Doctoral dissertation). Dissertation Abstracts International, 59(4-A), 66.

Elliont, D. C. (1994). Collaborative decentralized management and perceptions of quality schooling outcome. Dissertation Abstracts International, 52(10), 3468-A.

Kottennavar, G. R. (2016). Teachers’ participation in school administration and attitude towards teaching profession of secondary school teachers. Indian Streams Research Journal, 6(1), n.pag.Person, J. L. (1994). An examination of the relationship between participative management and perceived institutional effectiveness in North Carolina community colleges. Dissertation

Abstracts International, 53.

Porter, E. J. (1995). The life-world of older widows: The context of lived experience. Journal of Women and Aging, 7(2),

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

รองศักดิ์ ป. ., & เทียมกลาง อ. (2025). การมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา, 4(1), 47–56. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunmcj/article/view/4783