การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองหิน

ผู้แต่ง

  • สกุณา บุญรอดรัมย์ โรงเรียนบ้านคลองหิน

คำสำคัญ:

ระบบ, การดูแลช่วยเหลือนักเรียน, การมีส่วนร่วม, การเสริมสร้างสมรรถนะ, ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของนักเรียน

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ 2) สังเคราะห์องค์ประกอบ 3) พัฒนาระบบ ประเมินระบบ และประเมินคู่มือ และ 4) ศึกษาประสิทธิภาพของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองหิน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลการทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) แบบประเมินระบบ และคู่มือ 3) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลการทางการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัย พบว่า

  1. นักเรียนโรงเรียนบ้านคลองหินมีภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ ขาดทักษะชีวิต และพัฒนาการล่าช้าได้รับผลกระทบจากสภาพครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ และการใช้เทคโนโลยีโดยขาดการกำกับดูแลจึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. องค์ประกอบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองหิน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 48 องค์ประกอบย่อย
  3. ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 29 องค์ประกอบย่อย มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และคู่มือระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบการมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
  4. ประสิทธิภาพของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองหิน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กฤษฎิ์ณิชา พุทจิระ. (2564). การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนวัดจันทาราม (ตั้งตรงจิตร 5) เน้นสมรรถนะประจำสายงานของครูประจำชั้น (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยคริสเตียน).

คำนึง ทองเกตุ และ พัฒนา ทองเกตุ. (2562). ระบบดูแลช่วยเหลือ (ออนไลน์). ได้จาก http://www.ctc.ac.th/files/10000001_21102421212246.pdf (สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565).

เฉลิมชัย หาญกล้า. (2545). การพัฒนาระบบการตรวจติดตามคุณภาพภายในของสถาบันราชภัฏ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ณัฐนียา ห้องกระจก. (2562). แนวทางการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามวงจรคุณภาพ PDCA ของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).

ณัฐพร เห็นเจริญเลิศ. (2543). การพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กร. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนกฤต อั้งน้อย. (2563). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านวังจาน. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(3), กันยายน–ธันวาคม 2563.

ธีรวุธ ชมใจ. (2554). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระบบไตรภาคี [ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

นันธวัช นุนารถ. (2561). ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของเด็กและเยาวชน. ใน การประชุมวิชาการงระดับชาติ ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ประทีป เนตรพุกกณะ และคณะ. (2563). การพัฒนาการดำเนินงานการแก้ปัญหาการออกกลางคันของนักเรียน โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ประหยัด พิมพา. (2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 7(1), มกราคม-มิถุนายน 2561.

พรวิมล กลิ่นศรีสุข และ มานิตย์ อาษานอก. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 จังหวัดนครพนม. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(10), มกราคม-เมษายน 2564.

พิชชาภัทณ์ คนสมบูรณ์. (2562). คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา ประจำปี 2562. กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1: กระทรวงศึกษาธิการ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: วรวุฒิ สุขะเสวก.

วรวุฒิ สุขะเสวก. (2563). ศึกษาการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตนักศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตจังหวัดนครสวรรค์. ปริทรรศน์วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(1), มกราคม-เมษายน 2563.

ศิวา ขุนชำนาญ และจรัส อติวิทยาภรณ์. (2564). การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สอน โฮมแพน และประภัสสร ปรีเอี่ยม. (2559). รูปแบบความร่วมมือการจัดการศึกษาสายอาชีพสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษหลักสูตรอาชีวศึกษาระบบไตรภาคี. [ออนไลน์]. ได้จาก http://www.rlc.nrct.go.th/virtual/59/meet_s.php?id=067 (สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และแก้วิกฤตสังคม. กรุงเทพฯ: ชวนทิพย์.

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2554). สถิติการออกกลางคันของนักเรียน. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา และคณิ. (ม.ป.ป.). แนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกอบอาชีพของไทย. (ออนไลน์). ได้จาก https://so01.tci-thaijo.org/article/view (สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565).

อภิสิทธิ์ รอดบำเรอ. (2556). รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 [ดุษฎีนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ].

อรทัย ฉัตรภูติ. (2554). การจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบไตรภาคีเพื่อลดพฤติกรรมผิดวินัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. (ออนไลน์). ได้จาก http://www2.feu.ac.th/acad/llrc/singlesearch/Result.aspx?c=gaid&s= (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2565).

Banghart, F. W. (1969). Educational systems analysis. New York: Collier-Macmillan.

Edwards, P. (1985). System analysis design and development: With structured concepts. NewYork: Holt, Rinehart and Winston.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

บุญรอดรัมย์ ส. (2025). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองหิน . วารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา, 4(1), 100–112. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunmcj/article/view/5150