การส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียคณิตศาสตร์เรื่องระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร และความสนใจใคร่รู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมและแนวคิดการใช้คำถามปลายเปิด

Main Article Content

อนุพงศ์ สุขเกษม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนเรื่อง ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร และ 3) ศึกษาความสนใจใคร่รู้ หลังจากการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 17 คน ทำการทดลองทั้งหมด 12 คาบ คาบละ 50 นาที โดยใช้แบบแผน 1 กลุ่มวัดก่อนและหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการเหตุผล แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความสนใจใคร่รู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยได้แก่ Paired Sample t- test และ One Sample t-test


           ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการให้เหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสนใจใคร่รู้ของนักเรียน หลังจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
research article
Share |

References

กันตาธรณ์ ฆ้องย่ำ. (2560). ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้คำถามปลายเปิดเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก จ.จันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต] (คณิตศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

โกสุม กรีทอง. (2551). การใช้คำถามกับการเรียนคณิตศาสตร์. นิตยสาร สสวท. 37(157), 40-42.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช. 2551. สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2561). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ Mathematics Instruction. โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โชติมา หนูพริก. (2558). การประเมินเพื่อการเรียนรู้: การตั้งคำถามและการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 13(2), 18-30.

ณฐกร ดวงพระเกษ. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามตามแนวการคิดในระดับสูงของบลูม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 8(3), 130-138.

นุชนารถ ทวีชาติ. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการคิดเชิงสัมพันธ์กับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต] (คณิตศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ระพีพัฒน์ แก้วอ่ำ. (2559). การใช้คำถามปลายเปิดในการสอนคณิตศาสตร์. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา. 8(15), 206-211.

รุ่งนภา วีระพงษ์. (2561). แนวทางการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความใฝ่เรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนในจังหวัดสุพรรณบุรี. [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต] (การบริหารและการจัดการการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เรวดี ศรีสุข. (2564). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-Operative learning) ในการออกแบบการจัดการเรียน การสอน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลสุพรรณบุรี. 2(1), 5-16.

ลักขณา สริวัฒน์. (2558). การรู้คิด. โอเดียนสโตร์.

วีรพล แสงปัญญา. (2562). จิตวิทยาการเรียนการสอน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สถาบัน. (2564). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ มัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 2. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.

สิริพร ทิพย์คง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนารี นวลจันทร์. (2562). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำงานกลุ่ม เรื่อง ระบบจำนวนจริง โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต] (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยทักษิณ

อนุพร วิชามล และคณะ. (2560). การตั้งคำถามที่ส่งแสริมการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอยแก่น (2560) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(3), 1-12.

อมรรัตน์ เตยหอม. (2563). ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิด ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต] (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

อัมพร ม้าคนอง. (2558). คณิตศาสตร์ สำหรับครูมัธยม. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Large, T. (2010). พจนานุกรมคณิตศาสตร์. แปลและเรียบเรียงโดย ยุพิน พิพิธกุล และ สิริพร ทิพย์คง. สำนักพิมพ์ ปาเจรา.

Anderson, W. and Krathwohl, R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Education Objectives. Longman.

Graham, P. and Helen, J. (2011). Stimulating Curiosity to Enhance Learning. GESJ: Education Science and Psychology, 2(19), 24-31.

Singh, P. and Agrawal, A. (2011). Introduction to co-operative learning. Indian Streams Research Journal, 1(2), 1-9.

Wilson, W. (1971). Evaluation of Learning in Secondary School Mathematics: A handbook on Formative and Summative Evaluation of Students Learning. Md Graw Hill.

Yemi, M., and Others. (2018). Cooperative Learning: An Approach for Teaching Mathematics in Public School. European Journal of Social Studies, 2(10), 122-133.