การพัฒนาชุดแบบฝึกการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้วรรณคดีไทยในบทเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดแบบฝึกการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้วรรณคดีไทยในบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา จังหวัดสกลนคร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้วรรณคดีไทยในบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกปีที่ 3/10 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา จังหวัดสกลนคร ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร จำนวน 352 คนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แบบฝึกทักษะการเขียน จำนวน 5 แบบฝึก และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ ซึ่งเป็นข้อสอบแบบปรนัย จำนวน 25 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้วรรณคดีไทยในบทเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร พบว่า แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80.56/85.66 และ2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนครพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารครุศาสตร์เล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยนครพนม และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กัญณฐา พงศ์พิริยะวนิช. (2564). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย 1. มหาวิทยาลัยนครพนม.
ขวัญสกุล แจ่มใส. (2562) การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำในภาษาไทย ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนคีรีเวสรัตนเพียรอุปถัมภ์ จังหวัดตราด. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17.
จุฬาลักษณ์ คชาชัย. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชา Architectural Heritage Management and Tourism (International Program) มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ SAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2549). ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้. ในงานวิจัยของ อิ่มทอง ปัญญา. การ พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม เรื่องชุมชนของเราสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียน จุฬา ภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี.